ภาษาอีสานหมวด "ส" 71 - 80 จาก 1063

  • ส้ม
    แปลว่า : เปรี้ยว เรียก ส้ม.
  • ส้ม
    แปลว่า : ชื่อผลไม้หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยว เรียก ส้ม เช่น หมากส้ม ต้มส้ม แกงส้ม.
  • สวก
    แปลว่า : ทิ่ม ตำ แทง เช่น ไม้แทงตีน เรียก ไม้สวกตีน.
  • สวง
    แปลว่า : สงสัย งงงวย อย่างว่า คึดฮุ่งฮู้ใจบ่าสวงจิต (ฮุ่ง) อ่านว่า สะ-หวง.
  • ส่วง
    แปลว่า : แข่ง การแข่งเรือ เรียก ส่วงเฮือ การส่วงเฮือเป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ชาวอีสานที่ตั้งบ้านอยู่ใกล้แม่น้ำจะมีการส่วงเฮือเป็นประจำในฤดูน้ำหลาก โดยกำหนดเอาวันออกพรรษาเป็นต้นไป.
  • ส่วง
    แปลว่า : หลีกไป หลบไป เล็ดลอดไป การไล่สัตว์ป่าเข้าหน่าง ถ้ากวางออกทางหน่างเรียก ส่วงหน่าง ออกทางคนล้อมเรียก ส่วงแอ้ม ออกทางคนผู้เป็นหัวหน้าเรียก ส่วงโยง.
  • สวด
    แปลว่า : นูนขึ้น ยื่นออกมา อย่างว่า อยู่ใกล้เกลือได้กินแต่ดั่ง อยู่ใกล้ครั่งย้อมครั่งบ่แดง นอนสะแคงกอดสาวบ่อุ่น สวดจุ้มบุ้มมืองุ้มบ่เถิง (ภาษิต) เห็นของกินอยากบวชเห็นหีสวดอยากสิก (ภาษิต).
  • ส้วย
    แปลว่า : เรียว แหลม ลด อย่างว่า เมื่อข้าได้ธรงคัพบุตตา ขออย่าให้คัพภาหย่อนยานนูนปุ้ง ให้คือคันศรส้วยสวยงามปานช่าง อันที่เหลากล่อมเกลี้ยงกลมส้วยส่วนเสมอ (เวส-กลอน) เกณฑ์เมืองส้วยเถิงกรรมคาคาด (กาไก).
  • ส้อ
    แปลว่า : ซักถาม ไล่เลียง.
  • ส้องแส้ง
    แปลว่า : อาการเดินโซเซไปมาอย่างคนเมาเหล้า เรียก ย่างส้องแส้ง.