ภาษาอีสานหมวด "ห" 261 - 270 จาก 1363
-
หม้อม
แปลว่า : เศร้าโสก ตรอมใจ อย่างว่า ทังเมืองหม้อมกลัวเข็ญขวางใหญ่ ผิดแพ่งชั้นเชียงล้านแต่ลาง ว่าเนอ (สังข์) ตรัสว่าไว้ฮ้อยคู่ไถเฝือ สามพันปลายหมู่เลวเลยพร้อม นูเนือเนื้อนางจอมเทียมลูก กระสันโศกหม้อมยินใบ้บ่สะเบย (ฮุ่ง). -
หม่อมหล้า
แปลว่า : เมียน้อยของขุนนาง เรียก หม่อมหล้า อย่างว่า ดีท่อเจ้าหล้าน้อยน้องท่านทังหก อังคารศุกร์ฮ่วมในกงแก้ว หมอก็วางสอไว้ทูลถวายซ้องพระเนตร ดีท่อเจ้าหม่อมหล้าหอซ้อยโชคมี พระเอย (สังข์). -
หมอย
แปลว่า : ขนในที่ลับ เรียก หมอย อย่างว่า พาเศรษฐีไปค้า พาหีหมอยไปยามย่า (ภาษิต). -
หม้อย
แปลว่า : อาการที่คนเป็นไข้หนักจวนจะสิ้นใจ เรียก หม้อย. -
หมอยเข้าโคด
แปลว่า : ข้าวที่เกิดก่อนเรียก เข้าโคด (ข้าวโพด) โบราณตั้งชื่อเข้าโคดเหมาะมากเพราะเข้าชนิดนี้น่าจะเกิดก่อน ส่วนที่เป็นเส้นเล็กๆ ในฝักเข้าโคด เรียก หมอยเข้าโคด. -
หมอยพ่อค้า
แปลว่า : รากไม้ที่เป็นฝอยๆ ย้อยลงจากต้นไม้ตามริมตลิ่งในเวลาน้ำลด เรียก หมอยพ่อค้า. -
หมักหม่อม
แปลว่า : แช่มชื่น เบิกบาน หน้าตาที่แช่มชื่นเบิกบาน เรียก หมักหม่อม อย่างว่า หมักหม่อมหน้างามส่องสังวาล กะดันงาปักปิ่นคำกวมเกล้า โฉมคราญเนื้อนัวระฟองอั้วเพี่ยม เกล้าก่องดั้วคุลีส้วยสอดแหวน (ฮุ่ง). -
หมักหมัก
แปลว่า : เบิกบาน แช่มชื่น อย่างว่า หมักหมักหน้าง้อมม่วนยินกระสัน กลอยแฮงจงจอดเจืองใจม้าง แนนพันเข้าคือคำเนานั่ง แม่ค่อยขึ้นเมือช้างย่างอวน (ฮุ่ง). -
หมักหมั้น
แปลว่า : โรคบิด ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการปวดท้อง อุจจาระเป็นก้อน ถ่ายเป็นบิดมีเลือดติดอุจจาระออกมา เรียก โรคหมักหมั้น. -
หมัง
แปลว่า : หมาด ผ้าที่เปียกเอาตากแดดแล้วกำลังจะแห้ง เรียก ผ้าหมัง อนึ่ง เสื้อผ้าที่ใช้แต่ยังไม่ขาด เรียก ผ้าเก่าหมัง.