ภาษาอีสานหมวด "ห" 351 - 360 จาก 1363

  • หย่วยหย่วย
    แปลว่า : คนหรือสัตว์ที่เดินไปค่อนข้างเร็ว เรียก ย่างหย่วยหย่วย.
  • หยอก
    แปลว่า : หลอก ล้อ เล่นหรือล้อไม่จริงจัง เรียก หยอก อย่างว่า ทุกที่พร้อมมีอาจเคืองแคลน ยูท่างชาวเป็งจาลแต่งกันการเหล้น สาระพันพร้อมสิงโขนขับปี่ ลางพ่องฟ้อนแย่งย้องเยียวยื้อหยอกสาว (สังข์).
  • หยอง
    แปลว่า : หยิก งอ ผมที่หงิกงอ เรียก ผมหยอง.
  • หย่อง
    แปลว่า : เครื่องสานชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ สำหรับใส่เครื่องสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถ้าสานขนาดใหญ่ใช้เป็นพาข้าวก็ได้ เรียก หย่อง ขันกระหย่อง ก็ว่า.
  • หย่องย้อ
    แปลว่า : อาการนั่งชันเข่า ยกก้น เรียก นั่งหย่องย้อ.
  • หยอด
    แปลว่า : ชื่อแมลงชนิดหนึ่ง ชอบเอาดินมาทำรังอยู่ตามกระบอกไม้ไผ่ เรียก แมงหยอด ขี้ของมัน เรียก ขี้แมงหยอด.
  • หยอด
    แปลว่า : คนที่มีร่างกายซูบซีด ผอมแห้งแรงน้อย เรียก คนหยอด.
  • หยอด
    แปลว่า : หยุด เทหยดน้ำลงในโอ่งทีละน้อย หรือเทน้ำในกระบอกทีละน้อย เรียก หยอดน้ำ.
  • หยอน
    แปลว่า : จึง เพราะ เหตุกะหยอน ก็ว่า อย่างว่า เพิ่นหมั่นกะหยอนเพิ่นมี เพิ่นดีกะหยอนเพิ่นได้ เพิ่นไข้กะหยอนเพิ่นตาย (บ.).
  • หย่อน
    แปลว่า : ไม่ตึง การทำอะไรที่มีแต่ลดลงต่ำลง ช้าลง ไม่คงอยู่ในสภาพเดิมหรือสูงกว่าเดิม เรียก หย่อน ยาน ก็ว่า.