ภาษาอีสานหมวด "ห" 361 - 370 จาก 1363
-
หย้อน
แปลว่า : ค่อนไป ใกล้ไป เช่น บ้านนี้ใกล้บึง เรียก หย้อนไปทางบึง. -
หย่อม
แปลว่า : หมู่เล็กๆ กองเล็กๆ กลุ่มเล็กๆ เช่น หมู่บ้านที่ตั้งรวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ หญ้าที่เกิดขึ้นเป็นหมู่เล็กๆ เรียก หย่อม หยุ่ม ก็ว่า. -
หยัก
แปลว่า : ทำให้เป็นรอยเป็นแง่ ทำให้คดๆ งอๆ เฉือนหรือควั่นให้เป็นรอย เรียก หยัก บัก ก็ว่า เช่น บักไม้ให้กิ่ว. -
หยักเยื่อ
แปลว่า : เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว มูลฝอย เรียก หยักเยื่อ หยังเยื่อ เหงียงเหงี่ย ขี้ฝอย ก็ว่า. -
หยัง
แปลว่า : อะไร -
หยั่ง
แปลว่า : วัสดุเพื่อให้รู้ตื้นลึก คาดคะเนดู เช่น อยากจะรู้ว่าคนคนนี้จะมีความรู้ตื้นลึกหนาบางแค่ไหน ก็ต้องใช้วิธีวัดดู เช่น ถาม เป็นต้น เรียก หยั่ง อย่างว่า น้ำเลิ็กตื้นเชือกหยังกะยังเถิง หัวใจคนหยั่งบ่ถองเถิงได้ (บ.). -
หยัด
แปลว่า : เชื้อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการปวดปัสสาวะบ่อยๆ เรียกปวดเยี่ยวหยัด. -
หยัด
แปลว่า : น้ำหยดลงทีละหยด เรียก หยัด เช่น เทน้ำทีละนิดลงในกาหรือกระบอกไม้ไผ่. -
หยัน
แปลว่า : เยาะ เย้ย อย่างว่า บัดนี้ภายเพื่อนแจ้งเฮาฮ่างพลอยหมอง แลนอ กรรมใดเบียนบาปเองอายหน้า แหนงสู้เคียนคอขึ้นโตนตายแล้วชาติ จักอยู่ได้เป็นน้อยเพื่อนหยีน แลนอ (สังข์) เศิ็กทั่วท้าวพุ้นเพื่อนมาทัน ลอนตายผางไปดีดูฮ้าย ฝูงเขาข้าไทหยันหยามใหญ่ เมื่อนั้นน้องค่อยหว้ายป่าไม้มาพร้อมเพื่อนพล (ฮุ่ง). -
หยั่น
แปลว่า : ยอดโอชะของเครื่องดื่ม เช่น หัวเหล้าสาโท เรียก น้ำหยั่น น้ำหยั่นนี้ถือว่ามีโอรสอร่อยแซบนัวดีนักแล.