ภาษาอีสานหมวด "ห" 861 - 870 จาก 1363

  • ไหม้
    แปลว่า : เผา ลุก ติดเชื้อ เช่น ไฟเผาเรือน เรียก ไฟไหม้เฮือน อย่างว่า ไฟบ่ไหม้เฮือนใผกะพออยู่ (ภาษิต).
  • ไหมขี้
    แปลว่า : เส้นไหมที่สาวออกมาทีแรกเส้นไหมไม่ค่อยเรียบ มักมีขี้ไหมติดตามเส้นไหม เรียก ไหมขี้ ไหมขี้นี้จะต้องฟอกล้างเสียก่อนจึงจะใช้ทอให้เป็นไหมดีได้.
  • ไหมควบ
    แปลว่า : เส้นไหมที่ปั่นควบกันตั้งแต่สองเส้นขึ้นไป ใช้ทอเป็นผ้า เรียก ผ้าควบ ผ้าควบผ้าลัง ก็ว่า.
  • ไหมคอ
    แปลว่า : เส้นไหมที่ละเอียด ไม่มีขี้ติดเหมาะที่จะใช้ทอได้ทันที เรียก ไหมคอ.
  • ไหมคำ
    แปลว่า : เส้นไหมที่ควบด้วยทองแล่ง มีสีเหมือนทองคำ เรียก ไหมคำ ไหมคำนี้ใช้ปักหมอนสามเหลี่ยม หมอนพิง.
  • ไหย้
    แปลว่า : บังเหียน บังเหียนที่ใช้สวมปากม้าเวลาขี่ เรียก ไหย้ม้า บังเหียน หมากเหียน ก็ว่า.
  • ไหล
    แปลว่า : 1.)ชื่อพืชชนิดหนึ่ง ลำต้นกลมเล็กและยาว เรียก หญ้าไหล ใช้สำหรับทอเสื่อ ทอเสื่อคือต่ำสาด. 2.)เคลื่อนไปอย่างของเหลว เช่น น้ำ เรียก ไหล อย่างว่า เมื่อนั้นกุมภัณฑ์น้าวถนอมนางในอาสน์ คือคู่ไฟพ่างเผิ้งผายใกล้ล่ามไหล แท้แล้ว (สังข์).
  • ไหล่
    แปลว่า : ส่วนของบ่าที่ติดกับต้นแขน เรียก ไหล่.
  • ไหล่เขา
    แปลว่า : ส่วนของเขาที่ถัดยอดเขาลงมาเรียก ไหล่เขา.
  • ไหล่ถนน
    แปลว่า : ส่วนของทางหลวงที่ติดอยู่กับทางทั้ง ๒ ข้าง.