ภาษาอีสานหมวด "ห" 841 - 850 จาก 1363
-
ให้
แปลว่า : มอบ สละ อนุญาต ให้สิ่งของเงินทองเสื้อผ้า เรียก มอบให้ หรือมอบอำนาจให้ปกครองก็เรียก มอบให้ สละความสุขส่วนตนให้แก่ผู้อื่น เรียก สละให้ ยินยอมให้ทำในสิ่งที่ควรทำ เรียก อนุญาตให้. -
ให้ค่อยแก้
แปลว่า : แก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้ดี เรียก แก้ การแก้นั้นจะต้องแก้ให้ดีเท่าที่จะแก้ได้ และต้องแก้ให้ดีในทุกวิถีทาง อย่างว่า ให้ค่อยคึดค่อยแก้ค่อยแก่ค่อยดึง ให้ค่อยขุดค่อยขนค่อยคนค่อยค้ำ ให้ค่อยทำคอยสร้างอย่าวางใจให้ค่อยแล่น ให้ค่อยแงะค่อยแง้มมันชิได้ต่อนคำ (ย่า) -
ให้ค่อยทำ
แปลว่า : ทำโดยไม่อ้างกาลเวลาไม่ว่าหนักว่าเบา ไม่ว่ายากว่าง่าย ทำโดยไม่ละทิ้ง เรียก ให้ค่อยทำ อย่างว่า ให้ค่อยตักค่อยต้อนชิเห็นต่อนแกงปลา ให้ค่อยหวิดค่อยสาอย่าเซาวางไว้ คันหากเป็นตาหย้ำให้ทำกินฟ้าวฟั่ง อย่าได้นั่งเค้าเม้ามัวเว้าบ่ดี (กลอน). -
ให้ค่อยไป
แปลว่า : การสั่งเสียก่อนจะจากไปเรียก ให้ค่อยไป อย่างว่า ให้ค่อยไปดีเยอเจ้าผู้หงส์คำผ้ายเวหาเหินเมฆ กาดำเอิ้นจ้อยจ้อยให้อวนเจ้าอ่วยคืน (ผญา). -
ใหญ่
แปลว่า : โต ไม่เล็ก โต เรียก ใหญ่ ลูกคนโต เรียก ลูกผู้ใหญ่ บ้านที่กว้างขวาง เรียก บ้านใหญ่ สิ่งของขนาดใหญ่ เรียก ใหญ่ อย่างว่า สองนายตั้งปานโตงเหล้าใหญ่ ชอบที่วอนพี่ผู้คีงค้อมค่อยเอา (ฮุ่ง) ยุ่งเหยิงมาก เรียก หยุ้งใหญ่ อย่างว่า ต้นไม้ใหญ่บ่มีผีสาวผู้ดีบ่มีชู้ธรณีบ่อกแตกสารือ ตาแฮกเปิดไก่ต้มดินชิแห้งไง่ผง (ผญา). -
ใหม่
แปลว่า : เพิ่งมี เช่น ลูกใหม่ เมียใหม่ ข้าวใหม่ เสื้อผ้าใหม่ ความรู้ใหม่ เรียก ใหม่. -
ให้เลี้ยง
แปลว่า : การอุปถัมภ์บำรุงโดยไม่ปล่อยปละละทิ้ง เรียกว่า ให้เลี้ยง อย่างว่า ให้น้องเลี้ยงพี่ไว้ตางหมาหอนเห่า บาดชู้เก่ามาฮอดแล้วไลถิ้มบ่ว่าสัง (ผญา). -
ไห
แปลว่า : ภาชนะเคลือบดินเผา ก้นเล้ก ปากเล้ก กลางป่อง มีหลายชนิด สำหรับใส่สิ่งของต่างๆ ตามแต่จะใช้. -
ไห
แปลว่า : ม้า หยะหรือหัย (ป.) แปลว่าม้า ไหในที่นี้ก็แปลว่า ม้า อย่างว่า ขาจิ่งพรากจากห้องพิเศษมโนฮม ไหไหลวาฮอดเวียงเถิงกว้าน ฮมฮมพร้อมปลงหามของฝาก ขึ้นสู่เจ้าแผ่นหล้าเถิงฮ้านแท่นทอง (ฮุ่ง). -
ไห่
แปลว่า : เคาะ ตี การเคาะเบาๆ ในเวลาหล่อฆ้อง เรียก ไห่ฆ้อง คือตีเอาเสียง ตามปรกติการหล่อฆ้องจะต้องเคาะด้วยค้อนตีเหล็ก ถ้าต้องการเสียงขนาดไหน ถ้าพอใจก็เอา หากไม่พอใจเพราะเสียงดังแข็งหรือหย่อนเกินไปต้องไห่ใหม่.