ภาษาอีสานหมวด "ห" 821 - 830 จาก 1363

  • โหน
    แปลว่า : ยื่นออก นูนออก การนูนออกมา เรียก โหน อย่างว่า มันสวดคอบมันโหน มันโนคอบมันใหญ่ (ภาษิต).
  • โหน้ง
    แปลว่า : ไม่ชัด เพี้ยน แปร่ง พูดแปร่ง เรียก เว้าโหน้ง เว้าเสียงเอกเป็นเสียงโท.
  • โหม่ง
    แปลว่า : เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงตีฆ้องขนาดกลาง ดังโหม่งโหม่ง.
  • โหม้ง
    แปลว่า : เอาหัวรับตะกร้อหรือฟุตบอล เรียก โหม้งตะกร้อ โหม้งฟุตบอล.
  • โหยก
    แปลว่า : สูงมาก คนสูงมาก เรียก สูงโหยก สูงโขกโหยก ก็ว่า.
  • โหยะ
    แปลว่า : ขยับตัวขึ้นลง เรียก โหยะ โหยะโหย่งโย้ ก็ว่า.
  • โหร
    แปลว่า : หมอดู คนโบราณเรียกหมอดูว่า หมอหูฮา หมอหูฮาก็คือหมอโหรนั่นเอง อย่างว่า พระบาทให้กล่าวแก้กลอนเหตุสามกษัตริย์ ทังตาขวาขอบบนตีงเต้น เมื่อนั้นโหรคูณได้ทันทีทูลราช ฮ้อยที่อินทร์สั่งใช้มาต้านเล่าลาง แลนอ (สังข์).
  • โหรา
    แปลว่า : โหร หมอดู.
  • โหราจารย์
    แปลว่า : ผู้ชำนาญทางวิชาโหร.
  • โหราศาสตร์
    แปลว่า : วิชาว่าด้วยการดูหมอ.