ภาษาอีสานหมวด "ห" 831 - 840 จาก 1363

  • โหล
    แปลว่า : เป็นสังขยาเครื่องนับอย่างหนึ่ง นับทีละสิบสองเป็นจำนวนหนึ่ง จำนวนเต็มสิบสอง เรียก หนึ่งโหล.
  • โหล่
    แปลว่า : สุดท้าย ทะลุการวิ่งแข่งกัน เรียกคนที่วิ่งตามหลังว่าคนโหล่ เรียกตะกร้าก้นทะลุเรียก กะต้าก้นโหล่.
  • โหล้
    แปลว่า : ชื่อปี่ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ปี่สมัยโบราณอีสานมี ๔ ชนิด คือ ปี่แทด ปี่แถ ปี่ห้แ และปี่โหล้ ปี่หลู้ ก็ว่า ปี่แทดใช้เป่าประกอบวงมโหรี ปี่แถเป่าบอกเวลาตื่น กิน นอน ปี่ห้อเป็นปี่ขนาดใหญ่ใช้เป่าในเวลาแห่เจ้านายหรืองานพุทธาภิเษก ปี่หลู้ใหญ่ที่สุดใช่เป่าในเทศกาลงานบ้านเมือง อย่างว่า พิณพาทย์ไค้แคนขลุ่ยขานซอ แตรสังข์สูรกล่อมพิณโพนโล้ จันทาไท้เทวีระวังราช สนมหนุ่มย้องยังหุ้มแห่แหน (สังข์).
  • โหล้
    แปลว่า : ใหญ่ เช่น ปลาช่อนตัวใหญ่ เรียก ปลาค่อโหล้ คนคอใหญ่ เรียก คนคอโหล้ คอโต้ ก็ว่า.
  • โหว่
    แปลว่า : ฟันที่หลุดออกเป็นซี่ๆ เพียงสองสามซี่ เรียก คนแข้วโหล่ แข้วหว่อง ก็ว่า.
  • โหว้
    แปลว่า : หลอ ฟันที่หลุดออกมาก เรียก แข้วโหว้ อย่างว่า ใจบาปเบื้องบุญบ่มันสงวน คนนองในเป็งจาลกล่าวกันมาอ้าง ยามเมื่อเทียวทางแท้คอคือม้าปล่อย ทวารหว่องโหว้ขาวล้านเดิ่นแดง (สังข์).
  • โหวก
    แปลว่า : เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงคนร้องเรียกกันเอะอะโวยวาย เรียก ฮ้องโหวกโหวก.
  • โหว่ง
    แปลว่า : เบามาก เรียก เบาโหว่ง โหว่งเหว่ง โหวงเหวง ก็ว่า.
  • โหวด
    แปลว่า : เครื่องเล่นชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเหมือนบั้งไฟ แต่เล็กกว่ามาก ใช้เป่าหรือเหวี่ยงไป เพื่อให้เกิดเสียงดังไพเราะ เรียก โหวด โบด ก็ว่า
  • โห่ไห้
    แปลว่า : ร้องไห้ อย่างว่า ทุกที่พร้อมอามาตย์มุนนาย สะแบงเบาตกคะมะท้วงทังค้าย อุทิยานฮ้อนคือไฟเผาแผ่น เสียงโห่ไห้ระงมเฮ้าฮอดเชียง (สังข์).