ภาษาอีสานหมวด "ห" 851 - 860 จาก 1363

  • ไห้
    แปลว่า : ร้องไห้ อาการที่น้ำตาไหลเพราะประสบอารมณ์กลัว เรียก ไห้ ถ้ามีเสียงดังหรือเสียงร้อง เรียก ร้องไห้ อย่างว่า นางก็คืนคุงผัวกอดกุมหิวไห้ นางก็เฮวแฮงค้นกุมภัณฑ์ซักซั่น ยักษ์ยิ่งหลับลื่นล้นมีฮู้เมื่อคีง (สังข์).
  • ไหข้า
    แปลว่า : ภาชนะเคลือบดินเผาที่พวกชาวเขาเผ่าข้าทำ มีขนาดใหญ่และสูงกว่าไหที่คนลาวและคนไทยทำ เรียก ไหข้า.
  • ไหแค
    แปลว่า : ไหสำหรับใส่เหล้าโท เรียก ไหแค อย่างว่า ปุนกันฟายไหแคเปลี่ยนกันกินเมี้ยน (ฮุ่ง).
  • ไหง
    แปลว่า : ไหว สั่น สะเทือน อาการสั่นสะเทือน เรียก ไหง หงวย ก็ว่า อย่างว่า เลยเล่าต้านต่อแก้วนางนาฏกุมารี ก็ทนทวงคับแบ่งสองเสียไว้ สองเสนหาเพี้ยงแถลงคำค้อมก่อง คือคู่เป้งปลายลิ้นบ่ไหง (สังข์).
  • ไหงวหงั่วน
    แปลว่า : สั่น สะเทือน อย่างว่า ผัดผาบต้องท้าวหิ่งเชียงคาน ยนยนยอหอกแหลมไหลเข้า บาดาลพื้นธรณีไหงวหงั่วน เถ้าใช่ฟ้าดึงง้าวเงือดกลาง (ฮุ่ง).
  • ไหปลาแดก
    แปลว่า : ไหสำหรับใส่ปลาร้า เรียก ไหปลาแดก ที่เรียกชื่อปลาแดกเพราะเอาปลา เกลือและรำข้าวมาผสมเข้ากันแล้ว นำไปตำในครกมองให้แหลก เรียก ปลาแดก ปลาแหลก ก็ว่า บ้างก็ว่า เพราะการนำปลาที่ตำแล้วมายัดลงในไหที่ปากแคบ การยัดปลากดดันลงในไห เรียก ปลาแดก.
  • ไหปากกว้าง
    แปลว่า : ชื่อไหชนิดหนึ่ง ปากกว้างก้นกว้าง สำหรับใส่น้ำกินน้ำอาบ ไม่มีฝาปิด.
  • ไหไพ
    แปลว่า : ไหที่ใหญ่ ปากกว้าง ก้นกว้าง สำหรับใส่น้ำอ้อยงบ ใส่เกลือเก็บไว้กินได้เป็นปีๆ.
  • ไหม
    แปลว่า : ปรับเอา การที่ลูกใภ้ลูกเขยทำผิดฮีตคองประเพณี ปู่ย่าพ่อเถ้าแม่เถ้าจะต้องปรับลูกใภ้ลูกเขยเป็นเหล้าไหไก่โต หรือเป็นเงินเป็นทองแล้วแต่ประเพณีที่เคยทำกันมา ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ลูกใภ้ลูกเขยทำล่วงเกินอีก เรียก ไหมใภ้ไหมเขย.
  • ไหม
    แปลว่า : ใยของฝักหลอกที่สาวออกมาเป็นเส้น เพื่อทอเป็นผ้า เรียก เส้นไหม.