ภาษาอีสานหมวด "อ" 538 - 547 จาก 995

  • โอ๋
    แปลว่า : เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงพูดปลอบเด็กในเวลาเด็กร้องไห้.
  • โอ่ง
    แปลว่า : ภาชนะสำหรับขังน้ำขนาดใหญ่ ปากกว้าง ก้นสอบเล็กน้อย เรียก โอ่ง อย่างว่า ว่าจักเอาโอ่งน้ำยอถิ้มครอบพระองค์ (สังข์).
  • โองการ
    แปลว่า : คำศักดิ์สิทธิ์ พระดำรัสสั่งพระเจ้าแผ่นดิน เรียก พระราชโองการ พระบรมราชโองการ ก็ว่า (ป. ส.).
  • โอฐ
    แปลว่า : โอษฐ์ ปาก ริมฝีปาก (ป. โอฏฐ ส. โอษฺฐ) อย่างว่า แล้วจิ่งเอื้อนโอฐเว้าถามข่าวบาคราญ (ผาแดง).
  • โอด
    แปลว่า : พูด เจรจา สนทนา อย่างว่า อันหนึ่งยาโอดอ้างเต็งราษฎรลวงขุน แฮงชมชิงลูกเมียมีเจ้า (สังข์).
  • โอด
    แปลว่า : อวด อย่างว่า เขาท่อลอนลูบล้างมากล่าวคำงาม ในเวียงเขาโอดเชิงชนช้าง แหนงสู้ฟันคอซ้ำเซยตาวยังม่วน ให้ช้างแก้วแทงซ้ำซากงา (ฮุ่ง).
  • โอ่โถง
    แปลว่า : ภาคภูมิ มีสง่า เรือนที่มีสง่าน่าภาคภูมิและกว้างขวาง เรียก โอ่โถง.
  • โอน
    แปลว่า : น้อมลง โน้ม ยกไปไว้อีกที่หนึ่ง เช่น ต้นไม้ที่น้อมลง เรียก ต้นไม้โอน.
  • โอนชาติ
    แปลว่า : แปลงสัญชาติ เช่น แปลงจากชาติไทยไปเป็นฝรั่ง หรือแปลงจากฝรั่งมาเป็นไทย เรียก โอนชาติ.
  • โอนอ
    แปลว่า : เป็นคำรำพึงในเวลาดีใจหรือเสียใจ หรือขึ้นต้นกลอนลำยาว ลำล่องโขง อย่างว่า โอนอชิได้พรรณาเรื่องลำโขงยาวย่าน น้ำมันไหลมาจากเขาทิเบตกว้างเหนือพุ้นล่วงลง ฮ้อยคดฮ้อยโค้งลำโขงยาวย่าน พอมาเหลียวเห็นก้ำเมืองหลวงพระบาง แจ้งขางข่าย เห็นแต่ภูเขาตั้งซ้ายล้ายเมืองนั้นอยู่กลาง (กลอน).