ภาษาอีสานหมวด "อ" 541 - 550 จาก 995

  • โอฐ
    แปลว่า : โอษฐ์ ปาก ริมฝีปาก (ป. โอฏฐ ส. โอษฺฐ) อย่างว่า แล้วจิ่งเอื้อนโอฐเว้าถามข่าวบาคราญ (ผาแดง).
  • โอด
    แปลว่า : พูด เจรจา สนทนา อย่างว่า อันหนึ่งยาโอดอ้างเต็งราษฎรลวงขุน แฮงชมชิงลูกเมียมีเจ้า (สังข์).
  • โอด
    แปลว่า : อวด อย่างว่า เขาท่อลอนลูบล้างมากล่าวคำงาม ในเวียงเขาโอดเชิงชนช้าง แหนงสู้ฟันคอซ้ำเซยตาวยังม่วน ให้ช้างแก้วแทงซ้ำซากงา (ฮุ่ง).
  • โอ่โถง
    แปลว่า : ภาคภูมิ มีสง่า เรือนที่มีสง่าน่าภาคภูมิและกว้างขวาง เรียก โอ่โถง.
  • โอน
    แปลว่า : น้อมลง โน้ม ยกไปไว้อีกที่หนึ่ง เช่น ต้นไม้ที่น้อมลง เรียก ต้นไม้โอน.
  • โอนชาติ
    แปลว่า : แปลงสัญชาติ เช่น แปลงจากชาติไทยไปเป็นฝรั่ง หรือแปลงจากฝรั่งมาเป็นไทย เรียก โอนชาติ.
  • โอนอ
    แปลว่า : เป็นคำรำพึงในเวลาดีใจหรือเสียใจ หรือขึ้นต้นกลอนลำยาว ลำล่องโขง อย่างว่า โอนอชิได้พรรณาเรื่องลำโขงยาวย่าน น้ำมันไหลมาจากเขาทิเบตกว้างเหนือพุ้นล่วงลง ฮ้อยคดฮ้อยโค้งลำโขงยาวย่าน พอมาเหลียวเห็นก้ำเมืองหลวงพระบาง แจ้งขางข่าย เห็นแต่ภูเขาตั้งซ้ายล้ายเมืองนั้นอยู่กลาง (กลอน).
  • โอนอ่อน
    แปลว่า : ผ่อนตาม ยอมตาม.
  • โอนเอน
    แปลว่า : เอนไปเอนมา ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน.
  • โอบ
    แปลว่า : เอาแขนอ้อมไว้ เช่น โอบต้นไม้เอาแขนกอดรัดไว้ เรียก โอบกอด อย่างว่า คึดเมื่อท้าวโอบอุ้มฟูมเฟื้อฝากเสน่ห์ (ผาแดง) ลูบไล้ด้วยของหอม เรียก โอบ อย่างว่า ละอองโอบแก้มสองข้างไขว่แถว (สังข์) ปกครอง เรียก โอบป้อง อย่างว่า เทื่อนี้พระโอบป้องเป็นแน่วในชล ปีเดือนถวายใส่พระคลังคำล้าน นครเฮาปั้นเป็นเกยทานทูบ ทวงท่องเท้าสองก้ำก่ายกะได (สังข์).