ภาษาอีสานหมวด "อ" 521 - 530 จาก 995

  • แอกไค้
    แปลว่า : ชื่อหญิงในวรรณคดีอีสาน เรื่อง ขุนทึง กล่าวว่านางแอกไค้เป็นเมียของขุนเทือง นางแอกไค้มีลูกคนหนึ่งชื่อขุนทึง ขุนทึงได้นางนีเป็นภรรยา นางนีกล่อมลูกว่าดังนี้ นอนสาหล้าอำคาแม่ชิกล่อม นางจันดานาฏน้อยนอนแล้วอย่าแอ่ววอน นอนสาหล้านอนป่าพงไพร ขุนทึงเป็นพ่อเจ้าจำไว้อย่าลืม นางแอกไค้เป็นย่าของเฮา กับทังขุนเทืองพระปู้เฮาจำไว้ แม่ชิลีลาเข้าหามันมาสู่ ขอให้ลูกอ่อนน้อยนอนแล้วอย่าแอ่ววอน นอนสาหล้าสายใจลูกแม่ กรรมหากมาผ่าม้างไกลข้างพ่อรัสสี นางก็ฝากลูกไว้กับพี่ขึนทึง ขอให้ไกวกุมารอยู่คองนางน้อง นางชิลีลาเข้าหามันมาสู่ ให้เจ้าไกวลูกน้อยนอนถ้าอยู่ดง แม่ชิเข้าป่าไม้หาหมู่กลอยมัน แม่ชิเอามาหาอย่าชิวอนเด้อเจ้า คันแม่นบุตตาน้อยของเฮานอนตื่น ขอให้พระแผ่นพื้นไกวน้องอย่าวาง (ขุนทึง).
  • แอกน่องทบ
    แปลว่า : ขาพับ เรียก แอกน่องทบ แอกน่องทก ก็ว่า.
  • แอ่ง
    แปลว่า : โอ่ง โอ่งสำหรับใส่น้ำกิน น้ำอาบ เรียก แอ่งน้ำ อุแอ่งน้ำ ก็ว่า.
  • แอ่นแส่ว
    แปลว่า : นกแอ่นลม ชื่อนกชนิดหนึ่งชอบบินไปตามลม เรียก นกแอ่นแส่ว มีปีกยาว กินแมลงเป็นอาหาร.
  • แอบ
    แปลว่า : หีบ กล่อง กล่องใส่หมากเรียก แอบหมาก กล่องใส่ยาเส้นเรียก แอบยา.
  • แอบ
    แปลว่า : ฝึก หัด อบรม การฝึกหัดอบรมเรียก แอบ เช่น ฝึกทหาร เรียก แอบทหาร หีบอ้อย เรียก แอบอ้อย ฝึกช้าง เรียก แอบช้าง อย่างว่า นายแอบพร้อมพะลานกว้างแกว่งแพน (สังข์) ฝึกม้า เรียก แอบม้า อย่างว่า ม้าแอบคุ้นเทียมห้างแล่นไว (กา) ม้าแอบคุ้นคอสอดสะเนียนทอง (สังข์).
  • แอบแอ
    แปลว่า : ที่ลับ ซอก มุมแคบๆ เช่น ที่ลับระหว่างต้นขา เรียก แอบแอขา ทางที่เป็นมุมแคบๆ เรียก แอบแอทาง.
  • แอ็บแอ็บ
    แปลว่า : เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงร้องของเขียดตัวเล็กๆ ว่า ฮ้องแอ็บแอ็บ แอ้บแอ้บ ก็ว่า.
  • แอ้แป้
    แปลว่า : ขวดเล็กๆ และเตี้ยสำหรับใส่เหล้าโท เรียก แป้เหล้า ก็มี.
  • แอ้ม
    แปลว่า : กั้น ตีฝา เช่น กั้นฝา เรียก แอ้มฝา ตีฝาเรือน เรียก แอ้มเฮือน.