ภาษาอีสานหมวด "อ" 78 - 87 จาก 995
-
เอ็น
แปลว่า : เส้นชนิดหนึ่งอยู่ตามปลายกล้ามเนื้อ ช่วยความเคลื่อนไหวของร่างกาย เรียก เอ็น. -
เอ่น
แปลว่า : เรียกสิ่งของที่มีลักษณะแอ่นโค้งงอนว่า เอ่น เช่น ต้นไม้เอ่น ขางเอ่น แป้นปูเอ่น. -
เอ้น
แปลว่า : แอ่น งอน สิ่งของที่มีลักษณะแอ่นงอนมาก เรียก เอ้น. -
เอียดเหลียด
แปลว่า : ตรง ไม่คด ไม่โกง คนที่ซื่อตรงไม่คดในข้องอในกระดูก เรียก ซื่อเอียดเหลียด หรือต้นไม้ที่ไม่คดหาที่ตำหนิไม่ได้ เรียก ต้นไม้ซื่อเอียดเหลียด. -
เอี่ยน
แปลว่า : ปลาไหล ปลาไหลเรียก เอี่ยน มี ๒ ชนิด คือ เอี่ยนธรรมดา และเอี่ยนด่อน เอี่ยนด่อนมีสีค่อนข้างขาว อย่างว่า เอี่ยนขอเลือดนำกระปู (ภาษิต) ปล่อยเอี่ยนลงตม (ภาษิต). -
เอื้อย
แปลว่า : พี่สาว อย่างว่า ภูชัยท้าวธรงดาบเดินกลาย มันก็วอนเสียงใสเล้าโลมพระองค์อ้วน ศรีใสแก้วไปใดดั้นดุ่ง อวนเอย เชิญหม่อมมาจอดยั้ง ดอมเอื้อยอุ่นใจ แด่ถ้อน (สังข์). -
อุกอั่ง
แปลว่า : กลุ้มใจ คับแค้นใจ อย่างว่า แสนจักอุกอั่งแค้น แคลนโอ้ป่วงละเมอ (กา) สังมาทุกข์ยากฮ้อนสะออนอั่งทังอุก (ผาแดง) ฝูงอยู่ล้อมระวังตื่นตกใจ เยียวว่าผีสางสังซูดเบียนบาท้าว ภูมีได้สัญญายังเที่ยง อุกอั่งแค้นทวงสะอื้นอ่าวเถิง (สังข์). -
เอ่งเล่ง
แปลว่า : เรียกการนอนแผ่พุงของผู้ใหญ่ว่า นอนเอ่งเล่ง ถ้าเด็ก ว่า นอนแอ่งแล่ง. -
อ
แปลว่า : เป็นพยัญชนะพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้นได้อย่างตัวอื่นๆ เช่น อา อก องค์ และใช้นำพยัญชนะเดี่ยวได้อย่างอักษรกลางอื่นๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม และใช้นำตัว ย. ให้เป็นเสียงอักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ ตัวคือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก และใช้เป็นเครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และสระประสมกับเครื่องหมายสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ และใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ. -
อกรรมกิริยา
แปลว่า : กิริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน (ส.).