ภาษาอีสานมาใหม่ 11791 - 11800 จาก 17431

  • ทึดทึด
    แปลว่า : เสียงอื้ออึง เสียงอึกทึก เช่น เสียงนกเป็นจำนวนมากบินขึ้นพร้อมกันดังทึดทึด.
  • ทึดทึ้ง
    แปลว่า : นกทึดทือ นกที่ร้องเสียงดังทึดทึ้งเรียก นกทึดทือ นกขี้ถี่ ก็ว่า อย่างว่า ใผชิหลิงเห็นใส้ตับไตนกขี้ถี่ มันหากฮ้องทึดทึ้งใจเลี้ยวใส่กระปู (ผญา).
  • ทึ้ง
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงตีกลองดังทึ้งทึ้ง ตึ้งตึ้ง ก็ว่า.
  • ทึง
    แปลว่า : ไม้พลวง ไม้พลวง เรียก ต้นทึง เป็นไม้ขนาดใหญ่ ใบใหญ่ ใช้ห่อสิ่งของที่ใหญ่ๆ ได้ เช่น ห่อคน ในวรรณคดีอีสานเรื่อง ขุนทึง.
  • ทึกทึก
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น ม้ากระทืบโรง ดังทึกทึก ตึ๊กตึ๊ก ก็ว่า.
  • ทีป
    แปลว่า : เขต แดน ทวีป เขตแดนที่กว้างใหญ่ไพศาลโบราณแยกไว้ ๔ ทีป คือ ชุมพูทีป อุดรกุรุทีป บุพพะวิเทหะทีป อมรโคยานีทีป อย่างว่า จตุโลกาล้ำไอศวรแสนทีป กับทังครุฑนาคเหน้านางท้าวเทพคุณ (สังข์).
  • ทีโทด
    แปลว่า : เสียงกรน เช่น เสียงกรนของยักษ์กุมภัณฑ์ อย่างว่า ฟังยินเสียงกรนก้องพระมณเทียรทีโทด คือคู่กุญชราชฮ้องเสียงก้องคั่งบน แท้แล้ว (สังข์).
  • ทีทาด
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงน้ำตกจากที่สูง อย่างว่า กระแสน้ำอันไหลมาแต่จอมดอยทีทาดทีทาด (เวส).
  • ที่
    แปลว่า : สถานที่ ตำแหน่ง แหล่ง แผ่นดิน อย่างว่า เมื่อนั้นกุมภัณฑ์ต้านโลมนางเล้าลูบ ใผจักมาอยู่ยั้งแฝงเฝ้าที่ฮา นี้เด (สังข์).
  • ที
    แปลว่า : ครั้ง คราว หน ลำดับ ครั้งหนึ่ง เรียก ทีหนึ่ง คราวหนึ่ง เรียก ทีหนึ่ง หนหนึ่ง เรียก ทีหนึ่ง อย่างว่า เชิญพระมือเป็นเจ้าเล่าสองที (บ.).