ภาษาอีสานมาใหม่ 14051 - 14060 จาก 17431

  • โคม
    แปลว่า : คร่อม ทับ ไม้ล้มทับกันเรียก ไม้โคมกัน อย่างว่า จิกฮังล้มโคมกันขีนไขว่ (ผาแดง) พราหมโณล้มโคมหีนหนามหน่อ (เวส-กลอน).
  • โคม
    แปลว่า : เครื่องตามไฟที่มีกระบังลม เรียก โคมไฟ ใช้หิ้วหรือแขวน อย่างว่า โคมฮุ่งแจ้งปรางค์กว้างส่องแสง (เวส).
  • โคบโคบ
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น ตบมือพร้อมกัน ดังโคบโคบ หรือโห่ร้องพร้อมกันดังโคบโคบ.
  • โคบ
    แปลว่า : กลับมา อย่างว่า ยักษ์หมู่ล้านเขินค้านโคบคืน (กา) เขาก็เฮียงมือพร้อมทูลความแล้วล่าย ลูกค่อยดั้นดุ่งได้คุณแก้วซู่เซิง แม้นชื่อเทโวป้องปานพรหมเพ็งทีป ศรสอดม้างมัวข้วมโคบคืน แท้แล้ว (สังข์).
  • โคบ
    แปลว่า : ทำลาย อย่างว่า พันตัวเต็งโคบชิงเทม้าง (กา).
  • โคบ
    แปลว่า : ปล้น ชิง อย่างว่า เคียดเพื่อมารมาเหงโคบเอาอาได้ (สังข์).
  • โคบ
    แปลว่า : ข่มเหง เบียดเบียน อย่างว่า แม้นว่าแหลวหลวงเถ้าฟานโตนตัวพี่ ก็ดี ฮุ้งเฮ่วแผ้วฟานบี้กะออกหลวง แนวผู้ฮ้ายจั่งไฮแพ้เพื่อนจริงตาย ยาได้ชิงชูดหย้ำหยุมเคี้ยวโคบเต็ง เพื่อนเนอ (สังข์).
  • โคบ
    แปลว่า : พลิก คว่ำ อย่างว่า พระก็เฮวฮีบขึ้นเมือสู่ชานขวาง มุนตรีเขาคู่คนครางย้าน มเหสีฮ้อนฮนเคืองครางสั่น คือดั่งฟ้าโคบขว้ำเขินม้างมอดเมือง (สังข์).
  • โคบ
    แปลว่า : แผ่นเงินหรือทองบางๆ ที่หุ้มฝักมีด เรียก มีดโคบ.
  • โค้น
    แปลว่า : ท่อนไม้ ขอนไม้ เรียก โค้นไม้ ข้าวต้มที่มัดรวมกันสามกลีบ เรียก เข้าต้มโค้น เนื้อแห้งที่มัดรวมกันเรียก ซี้นโค้น อย่างว่า ผักกะโดนกินกับซิ้นโค้น ย่าเสื่องไว้ลูกใภ้ลักกิน (สอย).