ภาษาอีสานมาใหม่ 14071 - 14080 จาก 17431

  • โค
    แปลว่า : เครือ ชายหรือหญิงที่กำลังแตกเนื้อหนุ่มสาว เสียงจะแตกเป็นเสียงเป็ด เสียงที่แตกเรียก เสียงเครือ เสียงโค ก็ว่า แคนที่เสียงแตกเป่าแล้วฟังไม่ไพเราะเรียก แคนโค.
  • โค
    แปลว่า : วัว ชื่อสัตว์เลี้ยงจำพวกหนึ่ง ใช้สำหรับลากเกวียน เรียก โค งัว ก็ว่า อย่างว่า ค่อยอยู่ดีเยอ ฮูปเครื่องปั้นทุกสิ่งแสนสัตว์ สักกุณานกไก่กาแกมฮุ้ง โคคณาพร้อมมหิงสาเมยมั่ง คับคั่งถ้วนอินทร์ฟ้าหล่อแปลง (เวส-กลอน).
  • แคะแยะ
    แปลว่า : อาการที่กบหรือเขียดตัวเล้กๆ เต้นไป เรียก เต้นแคะแยะ เคาะเยาะแคะแยะ ก็ว่า ถ้าตัวใหญ่เรียก เต้นโคะโยะ โคะโยะเคะเยะ ก็ว่า.
  • แคะ
    แปลว่า : แทะ แกะ เอาไม้แทะขี้หูเรียก แคะขี้หู แกะบาดแผลเรียก แคะขี้บาด.
  • แคะ
    แปลว่า : ไม่เชื่อง วัวที่ฝึกแล้วไม่เชื่อง เวลาจับเข้าเทียมเกวียน มันจะสลัดแอก หรือควายที่ฝึกแล้วเวลาเข้าเทียมไถมันจะสลัดแอก เรียก งัวควายแคะ.
  • แค้วแน้ว
    แปลว่า : สิ่งที่เล้ก ยาวและเหยียดไปเรียก เหยีนดแค้วแน้ว เช่น ตายอย่างเขียดเหยียดแค้วแน้ว.
  • แควน
    แปลว่า : ลำบาก ตรากตรำ อย่างว่า แม้นว่าแสนฮ้องไห้ก็หากแควนดาย (เวส).
  • แคว้ง
    แปลว่า : ช้อนปลาหรือกุ้ง การเอาสวิงหรือตะแกรงช้อนปลาหรือกุ้ง เรียก แคว้ง แค้ง ก็ว่า.
  • แคว้ง
    แปลว่า : มะเขือพวงที่เป็นเถา เรียก หมากแคว้งเครือ.
  • แคล้ว
    แปลว่า : พลาด ผิด พลั้ง อย่างว่า มีคลาดแคล้วโดยดั่งพระองค์ฝัน เมื่อนั้นภูมีชมชื่นใจจาต้าน (สังข์)