ภาษาอีสานมาใหม่ 14564 - 14573 จาก 17431
-
คชนาม
แปลว่า : พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นช้าง เกิดในนครสาเกตุ อย่างว่า บัดนี้จักกล่าวเรื่องท้าวท่านมหาพรหม เป็นผู้มีเดโชฤทธิ์แฮงแข็งกล้า แปลงเป็นนาเคนทรช้างพลายสารเลยล่วง ลงสู่ห้องสาเกตเมืองคน เป็นพลายสารใหญ่โตเหลือล้น ฮอยมันได้สามวายังย่อม โตขนาดแท้ทวยช้างไต่ตาม. -
ค้งย้ง
แปลว่า : อาการตั้งอยู่หรือยืนอยู่ของสิ่งของขนาดใหญ่ เรียก ยืนค้งย้ง ขนาดเล็กว่า ยืนค้องย้อง. -
ค้งน้ง
แปลว่า : โก่ง โค้ง สิ่งที่มีลักษณะโก่งโค้งมากเรียก ก่งค้งน้ง โค้งโน้ง ก็ว่า ถ้าก่งนิด เรียก ก่งค้องน้อง อย่างว่า บักค้งน้งข้วมท่งสามแสน ใผทวยได้ได้แหวนวงหนึ่ง (ปัญหา). -
คงคา
แปลว่า : ชื่อแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำห้าสายซึ่งมีในประเทศอินเดีย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหิงสา แม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำใหญ่ อย่างว่า คงคาน้ำสมุทโทยาวย่าน เหลียวเบิ่งเงือกแลแข้ปลาบ้อนล่องลอย (บ.). -
โฆษกะ
แปลว่า : ผู้ประกาศ, ผู้โฆษณา (ป.ส.). -
ฆาตกรรม
แปลว่า : การฆ่าคน (ป.) -
ฆาต
แปลว่า : แตก ทำลาย ธาตุสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อธาตุทั้งสี่นี้ยังประชุมคือทำหน้าที่ของตนอยู่คนจะมีชีวิตคือยังไม่ตาย ถ้าธาตุสี่ไม่ทำงาน คนจะตาย ทางพระศาสนาเรียก จตุฆาต คือธาตุแตกนามดับ อย่างว่า จตุฆาตเข้านางน้อยหน่อเมือง (กา). -
ฆ้องหมู่ง
แปลว่า : ฆ้องขนาดใหญ่ ใช้สำหรับตีในเวลาทำบุญมหาชาติ พอจบเทศน์กัณฑ์หนึ่งๆ จะตีฆ้องนี้ 3 ที เพื่อประกาศให้คนที่นั่งฟังเทศน์ได้อนุโมทนา เรียกว่า ฆ้องหมู่ง ฆ้องโหม่ง ก็ว่า ถ้าอยู่ไกลๆ จะได้ยินเสียงฆ้องนี้ดังติดกันดังหมู่งหมู่ง คึ่งคึ่ง ก็ว่า. -
ฆ้องหม่อง
แปลว่า : ฆ้องขนาดเล้ก มีรูปร่างเหมือนฆ้องขนาดใหญ่ ใช้สำหรับตีเข้ากับกลงฟ้อนในงานบุญบั้งไฟ หรือตีแห่กลองบวช กองหด กองอัฐะ กองกฐิน เรียก ฆ้องหม่อง ฆ้องกระแต ก็ว่า. -
ฆ้องวง
แปลว่า : ฆ้องที่เจาะรูที่ฉัตร 4 รู สำหรับร้อยหนังตีเกลียวผูกโยงกับวงที่ทำด้วยต้นหวาย วงหนึ่งมีลูกฆ้อง 16 ถึง 19 ลูก ฆ้องแต่ละลูกมีเสียงสูงต่ำเรียงกันเป็นลำดับ เรียก ฆ้องวง ใช้ตีกับวงมโหรีวงเล็กหรือวงใหญ่.