ภาษาอีสานมาใหม่ 14711 - 14720 จาก 17431

  • เข้ากก
    แปลว่า : ข้าวสารที่นึ่ง หรือข้าวสารที่ตำทีแรก เรียก เข้ากก ที่ตำครั้งสุดท้ายเรียก เข้าปลาย.
  • เข้า
    แปลว่า : เข้าไป, ไม่ออกมา การเข้าไปในสถานที่ หรือเข้าไปหาบุคคลเรียก เข้า อย่างว่า เมื่อนั้นน้องท่านเข้าไปคุงพี่พันแขนเร็งโญยังฮุ่งคีงคอยน้อง นั้นบ ่(สังข์).
  • เข้า
    แปลว่า : ประเภทของเข้า เข้าที่ให้ผลช้าเรียก เข้าหนัก เช่น เข้าใหญ่ เข้าที่ให้ผลเร็วเรียก เข้าเบา เช่น เข้าดอ.
  • เข้า
    แปลว่า : ข้าว เมล็ดพืชที่กินเป็นข้าวและใช้แทนข้าวได้ เรียก เข้า มี ๒ ชนิดคือ เข้าเจ้าและเข้าเหนียว เข้าเหนียวมีหลายชนิด คือ เข้าป้องแอ้ว เข้าแข้วงู เข้าขาวใหญ่ เข้าขาวน้อย เข้างาช้าง เข้าเกล็ดเต่า เข้าหมวยขาว เข้าหมวยแดง เข้าดอกพุด เข้าดอ เป็นต้น.
  • เข่า
    แปลว่า : อวัยวะที่ต่อขากับแข้ง เรียก เข่า หัวเข่า ก็ว่า.
  • เขาเฮื้อ
    แปลว่า : ภูเขาที่รกรุงรังเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่และเครือเขา เดินไปมาไม่สะดวกเรียก เขาเฮื้อ อย่างว่า เดือนด่วนข้ามเขาเฮื้อฮุ่งมา (สังข์).
  • เขาเฮี้ย
    แปลว่า : ภูเขาที่เตี้ยหรือต่ำ เรียก เขาเฮี้ย อย่างว่า เดือนดุ่งพ้นเขาเฮี้ยฮุ่งมา (สังข์) อนึ่งภูเขาที่เต็มไปด้วยไม้เฮี้ย ไม้เฮี้ยคือไม้ไผ่ป่าชนิดหนึ่ง มีปล้องยาว ไม่มีหนามเรียก ไม้เฮี้ย ไม้ไผ่เฮี้ย ก็ว่า.
  • เขาเขียว
    แปลว่า : ภูเขาสูงจดขอบฟ้าเรียก เขาเขียว อย่างว่า ผ่อเห็นเดือนด่วนแจ้งพ้นพุ่งเขาเขียว พุ้นเยอ ฉายาเฮียงฮ่มดอยดาวซ้ายเหนเหนฮ้อง แกวแกวกอระวีก พรายป่าเป้ายูงผู้ส่งเสียง (สังข์).
  • เขา
    แปลว่า : คนที่พูดถึงเรียก เขา อย่างว่า ผัวเขามีอย่าขันเป็นชู้ชู้เขี้ยช้างพันชั้นอย่างเหลียว (ภาษิต).
  • เขฬา
    แปลว่า : น้ำลาย (ป.) อย่างว่า เหมือนดั่งเขฬาก่อนตกดินดมดูด คืนรือ (เวส).