ภาษาอีสานมาใหม่ 14981 - 14990 จาก 17431

  • ขัน
    แปลว่า : ภาชนะสำหรับตักน้ำกินน้ำใช้ ทำด้วยเงิน ทอง ทองคำ เรียก ขันเงิน ขันคำ ขันทอง ใช้สำหรับรดน้ำเจ้านาย เรียก กระออมเงิน กะออมคำ กะออมทอง ก็ว่า
  • ขัน
    แปลว่า : โตก ชื่อภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่แล้วทาด้วยน้ำรัก มีขา 4 ขาหรือไม้แก่นที่กลึงให้กลม มีขอบ เรียก ขันโตก ใช้เป็นภาชนะสำหรับใส่อาหาร อย่างว่า โตกหน่อยนี้ชื่อว่าโตกไม้จันทน์ ขันหน่อยนี้ชื่อว่าขันไม้แก้ว ขุนนางตกแต่งแล้ว จิ่งยอมา (สู่ขวัญ).
  • ขัน
    แปลว่า : พาน พานสำหรับใส่เครื่องสักการะ มีข้าวตอก ดอกไม้ ธูป ประทีป เทียน จัด 5 คู่ 8 คู่เรียก ขัน 8 เย็บใบกล้วยติดกันเป็นแหนบ เหน็บ ขันดอกไม้และธูปเทียนเข้าเรียก ขันหมากเบ็ง เพราะรวมเทียนและธูปพร้อมดอกไม้ 5 คู่เข้าไว้ในใบกล้วยที่ติดกันเป็นแหนบนี้.
  • ขัดเลือด
    แปลว่า : คัดเลือด คัดเลือดด้วยมนต์เรียก ขัดเลือด เช่น เมื่อถูกขวานหรือพร้าฟัน เสกมนต์ให้เลือดหยุด มนต์ที่ใช้ในการนี้เรียก มนต์ขัดเลือด.
  • ขัดเค้า
    แปลว่า : คัดเค้า ชื่อพรรณไม้ดอกชนิดหนึ่ง ดอกสีขาว กลิ่นหอม ลำต้นมีหนาม เรียก ต้นขัดเค้า อย่างว่า ดอกขัดเค้าก้านเกดจำปี นารีหอมฮ่วงบานโฮยเฮ้า (กลอน).
  • ขัดขีน
    แปลว่า : ไม่ลงรอย ไม่ร่วมมือทำ เรียก ขัดขีน ขีนขัด ก็ว่า อย่างว่า นางก็โจมแจ่มเจ้าองค์อ่อนยอมใจ ก่อนเถิ้น อาบ่มีขีนขัดชิค่อยเดินตามน้อย ฯ สุดแต่จอมคุณเจ้าเห็นดีโดยชอบ ลูกชิขัดต่อข้อขีน ได้ห่อนควรพ่อเอย (สังข์).
  • ขัด
    แปลว่า : ติดขัด, ไม่สะดวก, ไม่ทำตามเรียก ขัด เช่น ห้ามไม่ให้ทำ เรียกขัดขวาง ไม่ให้ความสะดวก เรียกขัดข้อง ไม่ยอมทำตาม เรียก ขัดแข็ง ไม่เห็นด้วย เรียก ขัดคอ ไม่พอใจหรือผิดใจ เรียก ขัดเคือง สนับสนุนให้ทำ เรียก ขัดท้าย ไม่ร่วมวงกินอาหาร เรียก ขัดพาเข้า.
  • ขัด
    แปลว่า : คัด การคัดเรือให้ไปตรง เรียก คัดเฮือ ขัดเฮือ ก็ว่า อย่างหนึ่ง ชาติที่เฮือแผนนี้ วางโทมบายกูด จิ่งเป็นดาย ขัดถืก เววาด ท้ายหัวพี้หากชินำ (สุด).
  • ขัด
    แปลว่า : ชื่อลายชนิดหนึ่ง ใช้ตอกไม้ไผ่ขัดสานกัน ยกขึ้นเส้นหนึ่ง ข้ามเส้นหนึ่ง เรียก ลายขัด อย่างว่า ตอกหลิ้มใส่ลายขัด นี่ก็ยาก (ภาษิต).
  • ขั้ง
    แปลว่า : ปิด, ปก การปิดปกเรื่องไว้เรียก ขั้ง.