ค้นหา "คำ" 211 - 220 จาก 1269

  • ง้าวง่า
    แปลว่า : ดาบสามง่าม ดาบที่มีเหล็กสามซี่เหมือนฉมวกเรียก ง้าวง่า ดาบนี้ใช้แทงข้าศึกในเวลารบราฆ่าฟันกัน อย่างว่า ทวนง่าง้าวเดียระดาษปะคือคำ ยนยนพลายงาแดงดุ่งเชิงกระดิงก้อง ควันพะลึกเพี้ยงไฟผางเผาโลก มารมืดกุ้มหาญห้าวหิ่งเนือง (สังข์).
  • งึน
    แปลว่า : เงิน คำว่าเงินนี้โบราณมีชื่อเรียกหลายอย่าง เรียก งึน งิน ยึน เงือน เงิน เมื่อรวมความแล้วก็คือเงิน อย่างว่า เงินเต็มพา บ่ท่อผญาเต็มปูมฯ มีเงินเว้าได้ มีไม้เฮ็ดเฮือนงามฯ เห็นเงินหน้าดำ เห็นคำหน้าเศร้า (ภาษิต).
  • เงิบ
    แปลว่า : ก.พลิกเอาด้านหน้าขึ้น ว.อาการที่พลิกเอาด้านหน้าขึ้น ว.ก้อนหินที่ยื่นออกมาจากภูเขา คล้ายเพิง ใช้หลบแดดหลบฝนได้ เรียก เงิบ เทิบ ก็ว่า เรือนที่มีหลังคาลาดไปทางเดียวก้เรียก เงิบ หรือ เทิบ เหมือนกัน. ซึ่งในภาคกลางมีการนำคำว่า เงิบ ไปเป็นคำแสลงที่มีความหมายว่าผิดไปจากที่คาดหวังหรือคิดไว้ไว้อย่างมาก เช่น ระวังเงิบ
  • เงี่ยม
    แปลว่า : หวาน, ไพเราะ การพูดถ้อยคำที่หวานหรือไพเราะ เรียก เงี่ยม (ส่วย) อย่างว่า แม้นจักมาให้ถ้อย คายเงี่ยมแสนทีก็ดี(สังข์).
  • เงื่อน
    แปลว่า : ปลายของเชือกเรียก เงื่อนเชือก อนึ่งถ้อยคำที่เป็นปม จะต้องคิดอ่านจึงจะเข้าใจเรียก เงื่อน เหตุเบื้องต้นที่ดลบันดาลให้เป็นไปเรียก เงื่อนเค้า.

  • แปลว่า : เป็นพยัญชนะตัวต้นในวรรคที่ 2 เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต.
  • จ้อม
    แปลว่า : แคบ หน้าผากแคบเรียก หน้าผากจ้อม อย่างว่า ญิงใดหน้าผากจ้อมผัวฮักแวนสนัด การเฮือนชานก็หากยังเฟือนฟ้าว (คำสอน).
  • จัก
    แปลว่า : เป็นคำช่วยกริยาบอกกาลภายหน้า แต่หนักกว่าจะ เช่น จักเข็ดขวางเรียก จักขวาง อย่างว่า หอมพลไฮ้นาคองแค้นคั่ง แก้วก่ำพร้าภายหน้าหากจักขวาง (ฮุ่ง) จักพลัดพราก จักใช้สอย ไม่ทราบว่าเป็นหรือตาย จักว่าเป็นตาย จักรวม จักตัด.
  • จั้ง
    แปลว่า : ที่พึ่ง ที่อาศัย พระพุทธ พระธธรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่อาศัยของพุทธบริษัท พระพุทธคือท่านผู้รู้ความจริง พระธรรมคือคำสอนที่เป็นจริง พระสงฆ์คือผู้ปฏิบัติตามธรรมที่จริง.
  • จัด
    แปลว่า : ตกแต่ง จัดอาหารมาเลี้ยงกันเรียก จัดงาน บอกกล่าวเรียก จัดป่าว เตรียมเดินทางเรียก จัดห้าง อย่างว่า ให้จัดห้างม้ามิ่งสินธุวา เขาก็คาดาวคำคาดอานเคียนเข้ม (สังข์) รีบทำเรียก จัดด่วน.