ค้นหา "คำ" 281 - 290 จาก 1269
-
ดูรา
แปลว่า : คำเตือนให้รู้ว่า อย่างว่า ดูรากุมภัณฑ์ท้าวธรงฤทธีลือเดช อย่าได้ทำบาปฮ้ายฉันนี้บ่ควร โตนี้แนวนามน้อยแกแดงไม้ดู่ สามแจ่มเจ้าแนวคู้แก่นจันทน์ (สังข์). -
เดียง
แปลว่า : บอกใบ้ บอกให้รู้ระแคะระคายเรียก เดียง อย่างว่า พี่จักเดียงกลอนสารกล่าวมามีเลี้ยง (กา) สอบถามเรียก เดียง อย่างว่า ก็จิ่งเดียงคำต้านถามบาน้อยนาถ (กา). -
เดือ
แปลว่า : เดือย เดือยไก่เรียก เดือไก่ อย่างว่า หิ้งไก่ผู้หอนเผือกเดือคำ มากินหิ้งยำเจ้าเงินยางอั้วค่า มากิน เขือพี่น้องสองเจ้าฮ่วมเฮือน (ฮุ่ง). -
โดย
แปลว่า : ข้าน้อย ครับ ขอรับ กระผม เป็นคำรับเมื่อผู้ใหญ่พูดหรือสั่ง เรารับว่า โดยข้าน้อย โดยข้อยน้อย ก็ว่า. -
ได้
แปลว่า : ได้มา ตกมา อย่างว่า ได้เมียสาวปานได้งัวซาวแม่ ได้เมียแก่ปานได้แม่ซาวคน (ภาษิต) ได้กินว่าดี ได้สี้ว่าม่วน ได้ยินย้อนผี ได้สี้ย้อนฝัน (ภาษิต). เป็นคำช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้เฮ็ดได้ทำ ได้เว้า อนุญาต เช่น กินได้ นอนได้ ไปได้ สามารถ มีความสามารถ เช่น เว้าได้ อ่านได้ เขียนได้. -
ตกต่ำ
แปลว่า : อาภัพ ถึงคราวอาภัพก็ต้องอาภัพอย่างว่า เทื่อนี้เฮาใคร่วางนครคามค่าบนบาน้อย คึดว่าอายเด็กแท้คำปุนเป็นง่าย บัดนี้โชคเพื่อนแพ้เฮาถ้านต่ำตอย แล้วเพื่อน (สังข์). -
ตบ
แปลว่า : ตีด้วยฝ่ามือ เรียก ตบมือ อย่างว่า โพ่โพ่พร้อมภายบุ่มตบมือ ทิวแพนคำเลื่อนบังบาท้าว อือทือล้อมนงศรีสาวถ่าว ลึงซึ่มผู้ใจท้าวแห่งสถาน (ฮุ่ง) คราวเมื่อเว้าแต่กี้ว่าชิตบแผ่นแผ้นแปนมือให้นั่ง บาดห่ามาฮอดแล้วจำให้นั่งหนาม (ผญา). -
ตะ
แปลว่า : เดิน ไป มักใช้นำหน้าคำว่าเดินเป็น ตะเดิน อย่างว่า มันก็นำเอาหัวต่อตนตะเดินได้ (สังข์). -
ตะการ
แปลว่า : สวย งาม อย่างว่า เลาะเลียนต้ายในหว่างฮาวเสา มีนาคาฮูบหัวงามล้วนดูตระการล้ำแสงคำแก้วส่อง เฮืองเฮื่อเหลื้อมแสงแก้วส่องสี (สังข์). -
ตะโนม
แปลว่า : รูปร่าง ทรวดทรง สัณฐาน เรียก ตะโนม ตะโนมพรรณ ก็ว่า อย่างว่า ท่อว่าตะโนมพรรณเพี้ยงสีสัณงามฮูป (กา) ตะโนมพรรณคือฮูปคำซาวเบ้า (ขุนทึง) มันค่อยตุ้มตะโนมนาถเฮียงฮส ดาแคงควรเวดระวังองค์แก้ว ฟังยินทมทมฮ้องเสียงคนคุงเมฆ มโนนาฏคลุ้มคือบ้าทั่วธรัง (สังข์).