หน้าแรก / สถานที่ / จังหวัดมุกดาหาร/อำเภอดอนตาล/กลองมโหระทึก

กลองมโหระทึก

สถานที่ท่องเที่ยว

มโหระทึก เป็นร่องรอยของอารยธรรมเริ่มแรกของภูมิภาคอุษาคเนย์ ก่อนที่จะรับอารยธรรมจากจีนและอินเดีย เป็นสิ่งที่แสดงออกให้เห็นถึงภูมิปัญญาและความรู้ ความสามารถทางด้านศิลปกรรม เทคโนโลยีของคนในภูมิภาคอุษาคเนย์ เมื่อ 3,000 ปีมาแล้ว มโหระทึกคืออะไร? :: มโหระทึก ไม่ใช่คำไทยแท้ แต่เป็นคำโบราณที่ยืมมาจากต่างประเทศแล้วกร่อนจนเพี้ยนไป มีใช้อยู่ในเอกสารไทยสมัยก่อนๆ เช่น ไตรภูมิเรียกว่า มโหระทึก แต่กฎมณเฑียรบาลเรียก หรทึก จัดเป็นเครื่องประโคมตีชนิดหนึ่งมีเสียงดังมาก ในกฎมณเฑียรบาลจึงบอกว่า ขุนดนตรีตีหรทึก และในไตรภูมิบอกว่า มโหระทึกกึกก้อง แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็น กลอง หรือ ฆ้อง ปัจจุบันมักจัดมโหระทึกเป็นประเภทกลอง เพราะมีรูปร่างคล้ายกลอง จึงเรียกกันติดปากว่า กลองมโหระทึก แต่มโหระทึกทำด้วยโลหะผสมที่เรียกว่าสำริด (Bronze) ในตระกูลฆ้อง แล้วมักมีประติมากรรมรูปกบขนาดเล็กๆ ประดับขอบแผ่นหน้า คนบางกลุ่มจึงเรียก ฆ้องกบ หรือ ฆ้องเขียด แต่เอกสารจีนเรียก กลองทองแดง เพราะมีส่วนผสมของทองแดงเป็นโลหะหลัก กลองมโหระทึกที่พบในจังหวัดมุกดาหาร มี 4 ใบ คือ 1. กลองมโหระทึกที่ขุดพบได้หน้าที่ทำการไปรษณีย์อำเภอคำชะอี จ.มุกดาหาร 2. กลองมโหระทึก ที่วัดมัชฌิมาวาส อ.ดอนตาล ซึ่งเป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 3. กลองมโหระทึก บ้านดงยาง ต.บ้านค้อ อ.คำชะอี และ 4. กลองมโหระทึก พบที่ อ.เมืองมุกดาหาร ระวัติกลองทอง (มโหระทึก) อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร มโหระทึก ชาวบ้านเรียกว่า กลองทอง ที่อยู่ในอำเภอดอนตาลมีประวัติความเป็นมาว่าเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีขาล ตรงกับวันที่ 6 ตุลาคม 2481 มีชาวบ้าน 3 ท่าน คือ 1.นายเหล็ก ปริปุรณะ 2.นายแปง ศรีลาศักดิ์ 3.นายลับ ศรีลาศักดิ์ ทั้ง 3 ท่านเป็นผู้ที่มีความชำนาญในการหาปลาในลำแม่น้ำโขงเป็นอย่างมาก ในวันดังกล่าวได้พายเรือหาปลาตามลำแม่น้ำโขงตามปกติ ขณะที่ผ่านวัดเวินชัยมงคล อำเภอดอนตาล ซึ่งตรงกับบ้านนาทาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และบริเวณริมตลิ่งน้ำโขงที่ถูกเซาะพังลงมานั้น ก็ได้พบวัตถุชิ้นหนึ่ง ซึ่งดูคล้ายโลหะโผล่พ้นจากพื้นดินเพียงเล็กน้อย ทั้ง 3 คนจึงตัดสินใจขุดขึ้นมาดู เพื่อที่จะได้รู้ว่าเป็นอะไร และนำไปชะล้างให้สะอาดจึงพบว่าเป็นกลองทอง ลักษณะของกลองทอง (มโหระทึก) กลองมโหระทึกมีขนาดกว้าง 86 เซนติเมตร ท้ายกลองมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 90 เซนติเมตร ความยาวของกลองจากหัวจรดท้าย 66 เซนติเมตรซึ่งนับว่าเป็นกลองขนาดใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย ลักษณะสำคัญ คือ มีลักษณะคล้ายกลองที่ทำด้วยโลหะผสมกันอย่างน้อย 3 ชนิด ได้แก่ ทองแดง ดีบุก และตะกั่ว ซึ่งรวมเรียกว่า สำริด หน้ากลองจะมีรูปกบเวียนซ้ายอยู่ 4 ตัว และมีรูปคล้ายดวงอาทิตย์ 14 แฉก ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี โทเวเม่ ชาวเวียดนาม ได้กล่าวว่าเป็นรูปเรือส่งวิญญาณเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของดองซองเป็นแหล่งที่อยู่ในเวียดนามตอนเหนือ และได้ให้ข้อสัญนิษฐาน เอาไว้ว่าดูตามลวดลายน่าจะมีอายุประมาณ 3,000 ปี ประโยชน์ของกลองทอง พวกหลี พวกเหลียวหล่อสำริดกลองทองเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำสงคราม ประกอบพิธีเซ่นบวงสรวงบูชาขับไล่สัตว์ร้ายหรือกระทั่งเพื่อใช้ในการบันเทิง เป็นต้น การเก็บรักษา หลังจากชาวบ้านได้นำกลองทองมาเก็บรักษาใน วัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) เป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสเก็บไว้เพื่อให้ผู้คนไปมาหาสู่ได้มาดูมาชม คนไทยในอีสานในสมัยก่อน เมื่อเกิดจันทรุปราคาจะเรียก (กบกินเดือน) เมื่อเกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้นชาวบ้านจะช่วยกันตีเกาะเคาะไม้ จุดประทัดยิงปืนให้เกิดเสียงอึกทึกครึกโครมขึ้นให้กบกินเดือนตกใจและคลายเดือน ฟ้าฝนไม่ตกตามฤดูกาล ชาวบ้านพร้อมพระสงฆ์ จะประกอบพิธีขอฝนโดยขุดสระเล็กๆใส่น้ำจอกแหนลงไปแล้วนำเอากบ ปลาข่อน คางคกมาลงไว้ที่สระน้ำ ระยะ 3 วัน 3 คืน ถ้ามีความแห้งแล้งมากจะสวดถึง 7 วัน 7 คืน ขณะประกอบพิธีอยู่นั้นหากกบ หรือ คางคกอย่างใดอย่างหนึ่งร้องขึ้นฝนจะตกลงมาในไม่ช้านั่นเอง

วัดมัชฌิมาวาส วัดกลาง บ้านนาทาม ตำบล/แขวงดอนตาล อำเภอ/เขตดอนตาล

กลองมโหระทึก

  16.533333,104.716667

ค้นหา

แนะนำสถานที่ใหม่  

สำรวจขอนแก่น  

สำรวจอุดรธานี  

สำรวจสกลนคร  

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*