ฤดูกาลจับจั๊กจั่นอ่อน

อีสานร้อยแปดจะพาทุกคนไปชมบรรยากาศตามล่าจั๊กจั่นอ่อนกันค่ะ พาลัดเลาะเข้าป่าหาของกินตามวิถีชีวิตของคนอีสานในพื้นที่ชนบทค่ะ วันนี้เราจะไปตะลุยพื้นที่ไหน ไปหาอะไรนั้นไปดูพร้อม ๆ กัน ไปกันเลยจ้า นั้นก็คือภาระกิจ“ก้านจั๊กจั่น หรือ จับจั๊กจั่น” ว่าแต่วันนี้เราจะเจอตัวจั๊กจั่นกันไหมน๊าเป็นยังไงต้องไปลุ้นพร้อมกับพวกเรากันจ้า จะน่าตื่นเต้นขนาดไหนตามพวกเรามาเลย…

อุปกรณ์ที่เราเตรียมไป ขาดไม่ได้เลยคือไฟฉายหรือหม้อแบตที่ชาวบ้านเรียกกัน ภาชนะที่นำไปใส่ตัวอ่อนเราจะใช้เป็นขวดน้ำ เติ่มน้ำใส่ลงไปครึ่งขวด สงสัยไหมคะว่าทำไมต้องเติมน้ำลงไปในขวด มันคือเคล็ดลับที่จะทำให้จั๊กจั่นหยุดลอกคาบลง

จั๊กจั่นอ่อน ที่เราจะออกตามหาออกกันในที่นี้ต้องออกตามหาตอนหัวค่ำ เพราะจั๊กจั่นจะขึ้นมาจากใต้ดิน เพื่อที่จะมาลอกคาบเป็นตัวใหม่ แต่ก่อนที่จั๊กจั่นอ่อนจะลอกคาบใหม่ เราต้องจับให้ทันก่อน เดี๋ยวจั๊กจั่นมีปีกแล้วตามไม่ทันเดี๋ยวจะพลาดอดได้ชิมของอร่อย ๆ

จั๊กจั่นอ่อน อาศัยอยู่ใต้ดิน ฟักไข่กลายเป็นตัวอ่อน จากนั้น เขาจะขึ้นมาลอกคาบอยู่ตามบนต้อนไม้ กิ่งไม้กลายเป็นจั๊กจั่นตัวแก่ที่มีปีกแข็งโบยบินได้ หากในระหว่างที่จั๊กจั่นขึ้นมาลอกคาบเราจับได้ก่อน หยุดการลอกคาบของจั๊กจั่นอ่อนด้วยการแช่น้ำเปล่าไว้ค่ะ ราคาจะสูงกว่าตัวแก่ครึ่งต่อครึ่งเลย และอร่อยกว่าด้วยจ้า


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*