
Newsletter Subscribe
Enter your email address below and subscribe to our newsletter
Enter your email address below and subscribe to our newsletter
ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 2,000,000 ไร่ มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดมหาสารคาม
พื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณ 700,000 ไร่ อยู่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด บริเวณอำเภอโพนทราย อำเภอเกษตรวิสัย และอำเภอปทุมรัตน์
สาเหตุที่ทุ่งนี้มีชื่อว่า ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นเรื่องเล่าที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาแสนนาน และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ๆ บนสถานที่แห่งนี้ มีเรื่องเล่ากันมาว่า
ชนเผ่ากุลา ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศมอญ (ปัจจุบันประเทศมอญได้ถูกพม่ายึดไป) กุลากลุ่มนี้มีอาชีพค้าขายระหว่างเมือง นำสินค้าประเภทสีย้อมผ้า เครื่องทองเหลืองต่าง ๆ
กุลาได้เดินทางค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้ ใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบผู้คน ไม่พบหมู่บ้าน ไม่พบแหล่งน้ำ ไม่มีต้นไม้ให้ร่มเงา มีแต่หญ้าขึ้นสูงเต็มไปหมด ส่วนดินก็เป็นดินทราย ยากลำบากแก่การเดินทาง เหมือนเดินทางอยู่กลางทะเลทราย จะขอความช่วยเหลือจากใครก็ไม่ได้ เพราะไม่มีใครให้ขอความช่วยเหลือ มีแต่แดด ต้นหญ้า และดินปนทราย
[ads1]
ถึงเวลาค่ำคืน ทั้งหิว ทั้งเหนื่อยสายตัวแทบขาด ร่างกายขาดน้ำทำท่าจะตายเอา ทั้งหมดจึงได้แต่นอนร้องไห้ จนมีชาวพื้นเมืองผ่านมาพบเข้า จึงช่วยเหลือหาบหามกันไปพยาบาลในหมู่บ้าน ผู้รอดตายจึงเล่าเหตุการณ์ก่อนที่จะได้รับความช่วยเหลือว่า เอาแต่นอนไห้เพียงอย่างเดียว ชาวบ้านจึงตั้งชื่อทุ่งนี้ว่า ทุ่งกุลาร้องไห้
ในอดีต ทุ่งกุลาร้องไห้ในหน้าแล้ง จะแห้งแล้งมากเพราะเป็นดินปนทราย หน้าฝนน้ำจะท่วมทุ่งทุกปี ใต้ผืนดินลงไปเป็นดินเค็ม น้ำที่สูบขึ้นมาก็เป็นน้ำเค็ม ไม่สามารถปลูกพืชผลอะไรได้
ในปัจจุบันเรียกดินแดนแถบนี้ว่า “ทุ่งกุลาสดใส” ทั้งนี้เพราะรัฐบาลไทยร่วมมือกับรัฐบาลออสเตรเลีย ส่งเจ้าหน้าที่ผู้มีความเชี่ยวชาญในการพลิกผืนดินที่ไร้ประโยชน์ ให้สามารถทำประโยชน์ได้ด้วยการทำถนน สร้างอ่างเก็บน้ำที่มีอย่างเหลือเฟือในฤดูฝน ขุดคลองซอยอย่างถี่ยิบ แล้วผันน้ำเข้สู่คลองซอย ผืนดินที่แห้งแล้งสีน้ำตลก็เปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม เต็มไปด้วยพืชพรรณธัญญาหาร ทุ่งกุลาร้องไห้ จึงถูกเรียกใหม่เป็น ทุ่งกุลาสดใส
[ads1]
สืบเนื่องจากประวัติของทุ่งกุลาร้องไห้นี้ จึงได้มีผญาที่เล่าเรื่องทุ่งแห่งนี้ มีอยู่ว่า
ตกกลางท่งแล้วล้าเดินฝ่าเทิงหัว
เห็นแต่ท่งเป็นทิวมือกุมควันกุ้ม
เหลียวไปไสฟ้าหุ้งงุมลงคือสักสุ่ม
มือกลางเวนจุ้มกุ้มคงไม้กะบ่มี
คักละนอบาดนี่หลงท่งคนเดียว
ถิ่มฮอดถงกะเทียวย่ามของสินค้า
เหลียวทางหลังทางหน้ากุลายั้งบ่อยู่
ลมออกหูจ้าวจ้าวไคค้าวย่าวไหล
จนปัญญาแล้วไห้เทิงจ่มระงมหา
คึดฮอดภรรยาลูกเมียอยู่ทางบ้าน
ลมอัสสวาสกั้นเนื้อสะเม็นเย็นหนาว
อ้าปากหาวโหยแฮงแข้งลาขาล้า
เพื่อไปนำกองหญ้าเวลาค่ายค่ำ
ยากนำปากและท้องเวรข่อยจ่องเถิง
ป่าหญ้าแฝกอึ้งตึงกุลาฮ่ำโมโห
ตายย้อนความโลโภล่องเดินเทียวค้า
ใจคะนึงไปหาโศกาไห้ฮ่ำ
คึดผู้เดียวอ้ำล้ำทางบ้านบ่เห็น
ในหนังสือกล่าวไว้บอกว่ากุลา
หรือแม่นไปทางได้แต่นานมาไว้
ท่งกุลาฮ้องไห้ที่หลังท้ายหมู่
อยู่โดนมาแต่พ้นพันร้อยกว่าปี
ลองมาดูจากภาพถ่ายดาวเทียมจะเห็นว่าในปัจจุบันทุ่งกุลาร้องไห้ไม่ได้แห้งแล้งอย่างในอดีตและเรื่องเล่าอีกต่อไปแล้ว สีเขียวแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์มีอยู่ทั่วไปทั้งบริเวณของทุ่งกุลาร้องไห้
เกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับชื่อเรียกของชนเผ่ากุลาของแต่ละภาษา
ไทย : กุลา
กัมพูชา : កូឡា
พม่า : ကုလား
อังกฤษ : Gula หรือ Kula