การฟ้อนรำอีสานใต้ เรือมจับกรับ

เรือมจับกรับ

เรือมจับกรับ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านสวายจุ๊ ตำบลป่าชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า “อาไยลำแบ”
เป็นการร้องประกอบกับการร่ายรำในเชิงเกี้ยวพาราสี ซึ่งในปัจจุบัน การละเล่นชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมและหาชมได้ยากเนื่องจากผู้เล่นต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวอย่างสูงในการร้องและการรำประกอบกับการใช้กรับ

เรือมจับกรับ

เรือมจับกรับ

ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์) ได้ศึกษารูปแบบการแสดงจาก นายเจ็น ทองโยง และ นางสารส ประกายแก้ว มาจัดรูปแบบการแสดงใหม่ให้มีความสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้น โดยการนำเอาการแสดงออกถึงการเกี้ยวพาราสีกันเป็นคู่ๆ มีการหยอกล้อ และการวาดลีลาขยับกรับแบบต่างๆ มีจังหวะดนตรีทำนองช้าและเร็ว
บรรเลงดนตรีด้วยวงกันตรึม (ปัจจุบันมีการดัดแปลงนำมาเล่นกันในวงโปงลางด้วย) ประกอบด้วยลายถวายครู อาไยกลาย กันต๊บ ปะการันเจก และโอละนอย

อุปกรณ์ประกอบการแสดง

หากเป็นรูปแบบวงกันตรึมทั้งชายและหญิงจะถือกรับสั้นทั้งหมด แต่หากว่าเป็นการแสดงในวงโปงลางฝ่ายชายจะถือกรับยาว 1 คู่ในมือขวา และกรับกระทบ 1 อันในมือซ้าย ฝ่ายหญิงจะถือกรับสั้นทั้งสองมือ

เรือมจับกรับ

เรือมจับกรับ

การแต่งกาย

– ชาย สวมเสื้อแพรแขนสั้นสีเหลือง นุ่งผ้าโจงกระเบนมัดหมี่ พาดไหล่และมัดเอวด้วยผ้าไส้ปลาไหล(ผ้าขาวม้าของชาวไทเขมร)
– หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีเหลือง ผมประดับดอกไม้ นุ่งผ้าโจงกระเบนมัดหมี่ ห่มสไบเฉียงไหล่ซ้ายด้วยผ้าสไบไหมมัดหมี่ สวมเครื่องประดับเงินประเกือม(เครื่องเงินของชาวไทเขมร)


กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*