กลองโบราณ มุกดาหาร

กลองโบราณ จังหวัดมุกดาหาร  วันนี้ esan108 จะพาเพื่อนๆมาชมกลองโบราณที่มีประวัติอันยาวนานของจังหวัดแห่งนี้กัน ซึ่งถือเป็นร่องรอยของอารายธรรมเริ่มแรกของภูมิภาคอุษาคเนย์ ก่อนจะรับเอาอารายธรรมจากจีนและอินเดียเข้ามา  โดยกลองโบราณที่ขุดได้บริเวณจังหวัดมุกดาหารมีอยู่ 4 ใบ คือ

  1. กลองมโหระทึกที่อำเภอคำชะอี จ.มุกดาหาร
  2. กลองมโหระทึก ที่วัดมัชฌิมาวาส อ.ดอนตาล ซึ่งเป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
  3. กลองมโหระทึก ต.บ้านค้อ อ.คำชะอี
  4. กลองมโหระทึก อ.เมืองมุกดาหาร

กลองมโหระทึก อำเภอคำชะอี

มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 ซม. สูง 70 ซม. ที่หน้ากลองเป็นลายนูนรูปคล้ายดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ มี รัศมี 32 แฉก ไม่มีประติมากรรมรูปอยู่บนหน้ากลอง

กลองมโหระทึก อำเภอดอนตาล

พบเมื่อปี 2481 ที่บริเวณตลิ่งริมแม่น้ำโขงถูกน้ำเซาะพังทลายตรงบ้านนาทามในเขตลาว ตอนแรกเก็บไว้ที่วัดเวินไชยมงคล ตำบลดอนตาล ต่อมาย้ายมาเก็บรักษาไว้ที่วัดมัชฌิมาวาสจนถึงปัจจุบัน  กลองโบราณใบนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 86 ซม. ก้นกลอง 90 ซม. สูง 66 ซม. หน้ากลองมีลายนูนเป็นรูปคล้ายดวงอาทิตย์ มีรัศมี  14 แฉก และมีประติมากรรมรูปกบประดับ 4 มุม มุมละตัวด้านข้างกลองมีลวดลายนูนเป็นรูป “เรือส่งวิญญาณ” คล้ายกับกลองมโหระทึกพบบนเกาะสมุย

ตามคำบอกเล่าประวัติกลองทอง (มโหระทึก) อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร มโหระทึก เหตุที่ชาวบ้านเรียกว่า “กลองทอง” มีประวัติความเป็นมาว่า เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีขาล ปี 2481 มีชาวบ้าน 3 คน คือ นายเหล็ก ปริปุรณะ  นายแปง ศรีลาศักดิ์ นายลับ ศรีลาศักดิ์ ทั้ง 3 คนเป็นผู้ที่มีความชำนาญในการหาปลาในลำแม่น้ำโขง ในวันดังกล่าวได้พายเรือหาปลาตามลำน้ำโขงตามปกติ ขณะที่ผ่านวัดเวินชัยมงคล ซึ่งตรงกับบ้านนาทาม สปป.ลาว บริเวณริมตลิ่งน้ำโขงที่ถูกเซาะก็ได้พังลงมา จึงพบวัตถุชิ้นหนึ่ง ซึ่งดูคล้ายโลหะโผล่พ้นจากพื้นดิน ทั้งสามจึงตัดสินใจขุดขึ้นมาดู เพื่อที่จะได้รู้ว่าเป็นอะไร และนำไปชะล้างให้สะอาดจึงพบว่าเป็นกลองทองหรือที่รู้จักกันในนาม กลองโบราณของเมืองมุกดาหาร

ลักษณะของกลองทอง มีขนาดกว้าง 86 ซม. ท้ายกลองมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 90 ซม. ความยาวของกลองจากหัวจรดท้าย 66 ซม. ซึ่งนับว่าเป็นกลองขนาดใหญ่ ที่สุดของไทย หน้ากลองจะมีรูปกบเวียนซ้ายอยู่ 4 ตัว และมีรูปคล้ายดวงอาทิตย์ 14 แฉก ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี นาย โทเวเม่  ได้กล่าวว่า “เป็นรูปเรือส่งวิญญาณเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของดองซอง ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ในเวียดนามตอนเหนือ” และได้ให้ข้อ สันนิษฐาน ไว้ว่าน่าจะมีอายุประมาณ 3, 000 ปี

ประโยชน์ของกลองโบราณ

พวกหลี หรือพวกเหลียวหล่อสำริดกลองทอง เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำสงคราม และในพิธีเซ่นบวงสรวง บูชาขับไล่สัตว์ร้ายหรือใช้ในการบันเทิง เป็นต้น ส่วนการเก็บรักษา หลังจากชาวบ้านได้นำกลองทองมาเก็บรักษาใน วัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสเก็บไว้เพื่อให้ผู้คนไปมาเยี่ยมชม โดยสมัยก่อน  คนไทยในอีสาน เมื่อเกิดจันทรุปราคา หรือที่เรียกกันว่า “กบกินเดือน” ชาวบ้านจะช่วยกันตีกลอง เคาะไม้ จุดประทัดยิงปืนให้เกิดเสียงอึกทึกครึกโครมขึ้นให้กบกินเดือนตกใจและคลายเดือน หรือหากเกิดกรณีฟ้าฝนไม่ ตกตามฤดูกาล ชาวบ้านและพระสงฆ์ จะประกอบพิธีขอฝนโดยขุดสระเล็กๆใส่น้ำจอกแหนลงไปแล้วนำเอากบ ปลาข่อน คางคกมาลงไว้ที่สระน้ำ ถ้ามีความแห้งแล้งมากจะสวดถึง 7 วัน 7 คืน ขณะประกอบพิธีนั้นหากกบ หรือ คางคกอย่างใดอย่างหนึ่งร้องขึ้นฝนจะตกลงมาในไม่ช้านั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ

  • กรมศิลปากร
  • travel2mukdahan.com

มี 1 บทความลิงก์มาที่กลองโบราณ มุกดาหาร

กรุณาแสดงความคิดเห็นของคุณ

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*