บทความหมวดหมู่ : ศิลปวัฒนธรรม

ฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ

ฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ

ประเพณีการสู่ขวัญ เป็นประเพณีตามศาสนาพราหมณ์ที่นิยมกระทำสืบต่อกันมาอย่างช้านาน ถือว่าเมื่อได้มีการทำพิธีนี้แล้วจะก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต การทำพิธีีสู …
ฟ้อนตังหวาย

ฟ้อนตังหวาย

ฟ้อนตังหวาย เป็นชุดการแสดงเมื่อ นายประดิษฐ์ แก้วชิน ได้ไปพบการแสดงนี้ในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เห็นว่าการแสดงหมอลำตังหวายมีทำนองสนุกสนาน จึงได้ทดลองให้เด็กนักเรียนมาฝึกหัด แล้วนำออกไปแสดงในงานปีใหม่ ที่ทุ่งศรีเมืองกลางเมืองอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ.2514
ฟ้อนเผ่าไทภูพาน

ฟ้อนเผ่าไทภูพาน

ฟ้อนเผ่าไทภูพาน ใช้ผู้แสดงหญิง 10 คน เผ่าละ 2 คน โดยมีลำดับการออกของแต่ละเผ่า ดังนี้ เผ่าผู้ไท เผ่าย้อ เผ่ากะเลิง เผ่าโส้ และเผ่าแสก สุดท้ายทุกเผ่าจะฟ้อนร่วมกัน เป็นนัยบอกว่า แม้ต่างเผ่า ก็อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
การฟ้อนไทพวน

การฟ้อนไทพวน

ฟ้อนไทพวน ประดิษฐ์และออกแบบโดยชมรมนาฏศิลป์หนองคาย จากนั้น วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬศิลป์ ได้นำไปเผยแพร่ต่อ การแต่งกาย เป็นแบบประยุกต์ด้วยชุดที่ได้รับอิทธิพลแบบไทลื้อ โดยมีเสื้อที่ดัดแปลงมาจากชุดไทลื้อ นุ่งซิ่นมุกต่อตีนจกแบบไทพวนแท้ๆ ใช้ผ้าขิดลายขาว-ดำ พันศีรษะ
การฟ้อนแคน

การฟ้อนแคน

การฟ้อนแคน นำเสนอบรรยากาศการเกี้ยวพาราสี เล่นสนุกสนานกันระหว่างหนุ่มสาวชาวบ้าน โดยใช้แคนเป็นอุปกรณ์หลัก หรือเป็นสื่อ ดนตรี บรรเลงจังหวะเซิ้ง โดยใช้ลายเต้ยโขง, เต้ยธรรมดาออกลายลำเพลิน
การฟ้อนแขบลาน (แถบลาน)

การฟ้อนแขบลาน (แถบลาน)

ฟ้อนแขบลาน หรือฟ้อนแถบลาน คือการฟ้อนรำที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน โดยชาวบ้านเผ่าไทลาวในเขตอำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์  เป็นการฟ้อนรำประกอบการขับกาพย์เซิ้งเพื่อประกอบในพิธีการทำบุญหลวงหรือบุญบั้งไฟ   เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล    ในพิธีกรรมนี้จะมีการจุดบั้งไฟถวายเจ้าพ่อผาแดง 
ฟ้อนเอ้ดอกคูน

ฟ้อนเอ้ดอกคูน

ฟ้อนเอ้ดอกคูน คำว่า เอ้ เป็นภาษาอีสาน หมายถึงการประดับ ตกแต่ง จัดแจงให้สวยงามวิจิตร เอ้ดอกคูน จึงหมายถึง การประดับตกแต่ง จัดแจงดอกคูนให้สวยงาม งดงามวิจิตร ซึ่งเป็นจินตภาพอันได้จากความงดงามของดอกคูนที่บานสะพรั่งเหลืองอร่ามแซมด้วยใบเขียว พลิ้วโอนไหวยามต้องลม
เรือมกะโน๊บติงตอง(ระบำตั๊กแตนตำข้าว)

เรือมกะโน๊บติงตอง(ระบำตั๊กแตนตำข้าว)

เรือมกะโน๊บติงตอง (ระบำตั๊กแตนตำข้าว) เป็นการแสดงพื้นเมืองชาวไทเขมรในจังหวัดสุรินทร์ คำว่า กะโน๊บติงตอง เป็นภาษาท้องถิ่นของชาวไทเขมร หมายถึง ตั๊กแตนตำข้าว เรือมกะโน๊บติงตอง ของอีสานใต้เป็นการละเล่นที่มีความสนุกสนาน
เรือมอันเร

เรือมอันเร

เรือมอันเร นั้น จะเล่นกันในช่วงของวันหยุดสงกรานต์ โดยชาวบ้านจะเล่นเรือมอันเรที่ลานบ้านหรือว่าลานวัด เรือม แปลว่า รำ  อันเร  แปลว่า สาก  ดังนั้น เรือมอันเร จึงแปลว่า การรำสาก เป็นการรำเพื่อความสนุกสนานในยามพักผ่อน  ส่วนมากผู้ที่อยู่ในวงรำสากจะเป็นหญิงล้วน  ส่วนหนุ่มๆจะมาเป็นกลุ่มยืนชมสาวที่กำลังรำอยู่ หากชอบคนไหนก็เข้าไปรำด้วย
การฟ้อนรำอีสานใต้ เรือมจับกรับ

การฟ้อนรำอีสานใต้ เรือมจับกรับ

การฟ้อนรำอีสานใต้ หรือ เรือมจับกรับ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านสวายจุ๊ ตำบลป่าชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า อาไยลำแบ เป็นการร้องประกอบกับการร่ายรำในเชิงเกี้ยวพาราสี ซึ่งในปัจจุบัน
เซิ้งสวิง

เซิ้งสวิง

เซิ้งสวิง เป็นการฟ้อนรำที่จำลอง หรือเล่าเรื่องราวการหาสัตว์น้ำของชาวบ้าน โดยใช้สวิงเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือ แสดงคู่ชาย-หญิง ก็ได้ หรือ แสดงเพียงผู้หญิงเท่านั้น ก็ได้
ฟ้อนสดุดีพระภูมินทร์

ฟ้อนสดุดีพระภูมินทร์

เนื่องจากปี 2550 เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชมมายุ 80 พรรษา ปวงชนชาวไทย ต่างน้อมรำลึก สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ชมรมฯ จึงได้จัดชุ …