ภาษาอีสานทั้งหมด 10161 - 10170 จาก 17431

  • เหมือด
    แปลว่า : ข้าวเหนียวนึ่งผสมมัน เรียก เข้าเหมือดมัน อีสานปีใดนาแล้งได้ข้าวในนาน้อยไม่พอกิน ต้องหาสิ่งของไปแลกข้าว ได้ข้าวมาไม่พอกินต้องหาเผือกหามันหากลอยมาเพิ่ม นี่จึงเป็นที่มาของเข้าเหมือดมัน อย่างว่า ผู้สาวอึดเข้ากินกลอยจนหีจ่อย (บ.) อึดแพ้หลายตายแพ้น้อย (ภาษิต) ลูกแอ่วอ้อนเขาค่อยทำครัว ฮุนแฮงอิดแอ่วกินกวนไห้ พอเมื่อไฟขางเข้าพอประมาณมันเปื่อย พ่อก็บายกาบกล้วยตองให้คู่คน (สังข์).
  • เหมือน
    แปลว่า : อย่างเดียวกัน ไม่แปลกกัน อย่างว่า ยังเล่าคึดฮอดน้องขังขอดมโนในยิ่งแล้ว หมายจักจรจงพระทัยบ่ไลลาน้อง ผิจักพิจารณ์ห้องหนพระองค์อันอ่าว วันนั้น คันบ่ได้ดั่งแม้งเหมือนแห้งหอดหิว แท้แล้ว (สังข์).
  • เหมือย
    แปลว่า : หมอก น้ำค้าง ไอน้ำที่เป็นควันขาวมัวอยู่ตามอากาศทั่วไป เรียก เหมือย อย่างว่า ลัดล่วงผ้ายล้านหลืบหลึมเหมือย กลายแดนดนด่วนเถิงแถนฟ้า เมื่อนั้นสะบุหน้าแถนหลวงหลิงโลก เห็นแก่นเหง้านงหน้าฮ่ำคาญ (ฮุ่ง).
  • เหมือย
    แปลว่า : สัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่งในสกุลหมี แต่ตัวใหญ่กว่าหมี เรียก เหมือย อย่างว่า สัพพะสิ่งช้างเดียระดาษแสนสัตว์ ก็ดี ไกสรสีห์ซู่คณาเนืองเฝ้า เสือสางเหม้นเหมือยหมีหมาป่า ก็มา ลิงวอกเต้นโตนค้างบ่างชะนี (สังข์).
  • เหย
    แปลว่า : ระเหย กลิ่นที่กระจายไปในอากาศแล้วเหือดแห้งไป เรียก เหย อย่างว่า ก็บ่เหยเดือดแห้งน้ำตาย้อยย่าวไหล (สังข์).
  • เหยอ
    แปลว่า : ยุ่ง เหยิง ผมที่ยุ่ง เรียก เหยอ อย่างว่า ผมเกษเกล้าเหยอหยุ้งเกลือกฝอย (ขุนทึง).
  • เหยาะ
    แปลว่า : เติมลงไปแต่น้อยให้พอดีแก่ความต้องการ เรียก เหยาะ เช่น เหยาะมากพริกแลกเกลือ เหยาะหมากเขือแลกเข้าเหยาะเข้าเหม้าแลกยา.
  • เหยาะแหยะ
    แปลว่า : ไม่จริงไม่จัง เช่น ทำอะไรไม่จริงไม่จัง เรียก เฮ็ดเหยาะแหยะ.
  • เหยิง
    แปลว่า : หวี สาง หวีผมสางผม เรียก เหยิงผม อย่างว่า หมอม่วนฮู้ต้านตอบเทพี ทูลเกงญากล่าวกลอนกลอยน้อม นารีเหน้าเหยิงผมผายเกษ เนานั่งล้อมเทียมข้างบอกแยง (ฮุ่ง).
  • เหยียด
    แปลว่า : ทำสิ่งที่งอให้ตรง เช่น เหยียดแข้ง เหยียดขา ลบออกเรียก เหยียด เช่น เหยียดนพเป็นเอก คือเอา ๘ ลบ ๑๐ เหลือ ๑ ดูถูกเรียก เหยียด เช่น ดูหมิ่น ดูถูก เหยียดชาติ ชั้นวรรณะ.