ภาษาอีสานทั้งหมด 10301 - 10310 จาก 17431

  • โหว้
    แปลว่า : หลอ ฟันที่หลุดออกมาก เรียก แข้วโหว้ อย่างว่า ใจบาปเบื้องบุญบ่มันสงวน คนนองในเป็งจาลกล่าวกันมาอ้าง ยามเมื่อเทียวทางแท้คอคือม้าปล่อย ทวารหว่องโหว้ขาวล้านเดิ่นแดง (สังข์).
  • โหวก
    แปลว่า : เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงคนร้องเรียกกันเอะอะโวยวาย เรียก ฮ้องโหวกโหวก.
  • โหว่ง
    แปลว่า : เบามาก เรียก เบาโหว่ง โหว่งเหว่ง โหวงเหวง ก็ว่า.
  • โหวด
    แปลว่า : เครื่องเล่นชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเหมือนบั้งไฟ แต่เล็กกว่ามาก ใช้เป่าหรือเหวี่ยงไป เพื่อให้เกิดเสียงดังไพเราะ เรียก โหวด โบด ก็ว่า
  • โห่ไห้
    แปลว่า : ร้องไห้ อย่างว่า ทุกที่พร้อมอามาตย์มุนนาย สะแบงเบาตกคะมะท้วงทังค้าย อุทิยานฮ้อนคือไฟเผาแผ่น เสียงโห่ไห้ระงมเฮ้าฮอดเชียง (สังข์).
  • ให้
    แปลว่า : มอบ สละ อนุญาต ให้สิ่งของเงินทองเสื้อผ้า เรียก มอบให้ หรือมอบอำนาจให้ปกครองก็เรียก มอบให้ สละความสุขส่วนตนให้แก่ผู้อื่น เรียก สละให้ ยินยอมให้ทำในสิ่งที่ควรทำ เรียก อนุญาตให้.
  • ให้ค่อยแก้
    แปลว่า : แก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้ดี เรียก แก้ การแก้นั้นจะต้องแก้ให้ดีเท่าที่จะแก้ได้ และต้องแก้ให้ดีในทุกวิถีทาง อย่างว่า ให้ค่อยคึดค่อยแก้ค่อยแก่ค่อยดึง ให้ค่อยขุดค่อยขนค่อยคนค่อยค้ำ ให้ค่อยทำคอยสร้างอย่าวางใจให้ค่อยแล่น ให้ค่อยแงะค่อยแง้มมันชิได้ต่อนคำ (ย่า)
  • ให้ค่อยทำ
    แปลว่า : ทำโดยไม่อ้างกาลเวลาไม่ว่าหนักว่าเบา ไม่ว่ายากว่าง่าย ทำโดยไม่ละทิ้ง เรียก ให้ค่อยทำ อย่างว่า ให้ค่อยตักค่อยต้อนชิเห็นต่อนแกงปลา ให้ค่อยหวิดค่อยสาอย่าเซาวางไว้ คันหากเป็นตาหย้ำให้ทำกินฟ้าวฟั่ง อย่าได้นั่งเค้าเม้ามัวเว้าบ่ดี (กลอน).
  • ให้ค่อยไป
    แปลว่า : การสั่งเสียก่อนจะจากไปเรียก ให้ค่อยไป อย่างว่า ให้ค่อยไปดีเยอเจ้าผู้หงส์คำผ้ายเวหาเหินเมฆ กาดำเอิ้นจ้อยจ้อยให้อวนเจ้าอ่วยคืน (ผญา).
  • ใหญ่
    แปลว่า : โต ไม่เล็ก โต เรียก ใหญ่ ลูกคนโต เรียก ลูกผู้ใหญ่ บ้านที่กว้างขวาง เรียก บ้านใหญ่ สิ่งของขนาดใหญ่ เรียก ใหญ่ อย่างว่า สองนายตั้งปานโตงเหล้าใหญ่ ชอบที่วอนพี่ผู้คีงค้อมค่อยเอา (ฮุ่ง) ยุ่งเหยิงมาก เรียก หยุ้งใหญ่ อย่างว่า ต้นไม้ใหญ่บ่มีผีสาวผู้ดีบ่มีชู้ธรณีบ่อกแตกสารือ ตาแฮกเปิดไก่ต้มดินชิแห้งไง่ผง (ผญา).