ภาษาอีสานทั้งหมด 10323 - 10332 จาก 17431
-
ไหไพ
แปลว่า : ไหที่ใหญ่ ปากกว้าง ก้นกว้าง สำหรับใส่น้ำอ้อยงบ ใส่เกลือเก็บไว้กินได้เป็นปีๆ. -
ไหม
แปลว่า : ปรับเอา การที่ลูกใภ้ลูกเขยทำผิดฮีตคองประเพณี ปู่ย่าพ่อเถ้าแม่เถ้าจะต้องปรับลูกใภ้ลูกเขยเป็นเหล้าไหไก่โต หรือเป็นเงินเป็นทองแล้วแต่ประเพณีที่เคยทำกันมา ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ลูกใภ้ลูกเขยทำล่วงเกินอีก เรียก ไหมใภ้ไหมเขย. -
ไหม
แปลว่า : ใยของฝักหลอกที่สาวออกมาเป็นเส้น เพื่อทอเป็นผ้า เรียก เส้นไหม. -
ไหม้
แปลว่า : เผา ลุก ติดเชื้อ เช่น ไฟเผาเรือน เรียก ไฟไหม้เฮือน อย่างว่า ไฟบ่ไหม้เฮือนใผกะพออยู่ (ภาษิต). -
ไหมขี้
แปลว่า : เส้นไหมที่สาวออกมาทีแรกเส้นไหมไม่ค่อยเรียบ มักมีขี้ไหมติดตามเส้นไหม เรียก ไหมขี้ ไหมขี้นี้จะต้องฟอกล้างเสียก่อนจึงจะใช้ทอให้เป็นไหมดีได้. -
ไหมควบ
แปลว่า : เส้นไหมที่ปั่นควบกันตั้งแต่สองเส้นขึ้นไป ใช้ทอเป็นผ้า เรียก ผ้าควบ ผ้าควบผ้าลัง ก็ว่า. -
งัวซอง
แปลว่า : วัวที่เข้าคู่กันสวยงาม -
ไหมคอ
แปลว่า : เส้นไหมที่ละเอียด ไม่มีขี้ติดเหมาะที่จะใช้ทอได้ทันที เรียก ไหมคอ. -
ไหมคำ
แปลว่า : เส้นไหมที่ควบด้วยทองแล่ง มีสีเหมือนทองคำ เรียก ไหมคำ ไหมคำนี้ใช้ปักหมอนสามเหลี่ยม หมอนพิง. -
ไหย้
แปลว่า : บังเหียน บังเหียนที่ใช้สวมปากม้าเวลาขี่ เรียก ไหย้ม้า บังเหียน หมากเหียน ก็ว่า.