ภาษาอีสานทั้งหมด 10501 - 10510 จาก 17431

  • อักโชภิณี
    แปลว่า : จำนวนนับอย่างสูง คือมีเลขศูนย์ตามหลัง ๔๒ ตัว อักโขภิณี อักโขเภณี ก็ว่า อย่างว่า ยังเล่าประกอบด้วยไคลเหื่อหิวหาย ท่อว่ากินดายดิบบ่เจียวจืนต้ม อักโขล้นอลัชชีชาติต่าง โดยดั่งเรื่องลือไว้มากมูล แท้แล้ว (สังข์).
  • อั้กอั้ก
    แปลว่า : เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงกำปั้นทุบดิน ดังอั้กอั้ก.
  • อัง
    แปลว่า : นำไปใกล้ๆ ไฟเพื่อให้ร้อน เรียก อัง พ่าง ก็ว่า เช่น อังกบ เรียก พ่างกบ อังเขียด เรียก พ่างเขียด.
  • อั้ง
    แปลว่า : คนที่มีลักษณะอ้วนเตี้ยและเล็ก เรียก บักอั้ง.
  • อั้งปั้ง
    แปลว่า : กินอาหารเต็มจนท้องนูน เรียก แหน้นอั้งปั้ง.
  • อัญชลี
    แปลว่า : การประนมมือ การไหว้ อัญชุลี ชุลี ก็ว่า อย่างว่า ศรีสุมังคละเลิศล้ำสิทธิเดชลือชา นาโถสุดยอดญาณไตรแก้ว สวัสดีน้อมในธรรมพุทธบาท คุณพระยกใส่เกล้าชุลีล้ำยอดญาณ (สังข์).
  • อัญชัน
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้จำพวกหนึ่ง มี ๒ ชนิดคือ อัญชันต้นและอัญชันเครือ ดอกคล้ายดอกถั่ว มีสีต่างๆ เรียก ดอกอัญชัน อังชัน ก็ว่า อย่างว่า อังชันเขียวแข่งนิลนางย้อม (สังข์).
  • อัญเชิญ
    แปลว่า : เชิญ เชิญด้วยความเคารพนับถือ อังเชิญ ก็ว่า อย่างว่า เชิญพระนี้เมือปกป้องครองเมืองเลี้ยงไพร่ เชิญทังลูกสะใภ้หล้านางแก้วมิ่งมะที เชิญพระนี้เมือเสวยเข้าพาคำเกลี้ยงอ่อน มีทังปลาปิ่นปิ้งประสงค์จ้ำแจ่วบอง หลายพร่ำเชื้อปิ้งจี่เจือจืน ยูท่างธรงความสุขชอบพระทัยชิยอให้ (เวส-กลอน).
  • อัญญา
    แปลว่า : เป็นคำแทนชื่อเจ้านาย อีสานสมัยโบราณปกครองโดยอัญญา ๔ คือ เจ้าเมือง อุปราช ราชบุตร ราชวงศ์ เจ้านายทั้ง ๔ เรียก อัญญา อาชญา ก็ว่า เพราะท่านทั้ง ๔ นี้มีอำนาจเด็ดขาด จะให้คุณให้โทษแ่ใครในสถานใดก็ได้ อย่างว่า เป็นข้าให้เป็นข้าอาชญา เป็นหมาให้เป็นหมาวัด (ภาษิต) สิบพ่อค้ามาไหว้พ่อนา สิบพ่อนาบ่ท่ออา๙ญาเลี้ยง (ภาษิต).
  • อัณณพ
    แปลว่า : อรรณพ ห้วงน้ำ ทะเล มหาสมุทร (ป. อณฺณว) อย่างว่า สาธโว ดูราสัปปุริสาเชื้อมหาชนในโลก เฮียมเอย ฝูงใดมักใคร่ข้วมทะเลกว้างย่านยาว ขอจ่งแปลงตนให้เป็นสำเภาเทียวไต่ ข้ามโอฆกว้างเถิงพุ้นฝั่งเกษิม (เวส-กลอน).