ภาษาอีสานทั้งหมด 10521 - 10530 จาก 17431

  • อับเอีย
    แปลว่า : คนที่พูดไม่ชัดเจน ไม่แจ่มแจ้ง เรียก เว้าอับเอีย.
  • อั๊บฮับ
    แปลว่า : แหลก ละเอียด หาชิ้นดีไม่ได้ เช่น ถ้วยแตกละเอียด เรียก มุ่นอั๊บฮับ กินไม่มีเหลือ เรียก เกลี้ยงอั๊บฮับ.
  • อัป
    แปลว่า : ใช้เป็นคำนำหน้าศัพท์ที่มาจากบาลีและสันสกฤต แปลว่า ไปจาก ปราศจาก ไร้ เช่น อัปภาคย์ ไร้โชค ปราศจากโชค อัปยศ ไร้ยศ ปราศจากยศ ใช้ อป ก็มี (ป. ส. อป).
  • อัปกะ
    แปลว่า : เล็กน้อย นิดหน่อย (ป. อปฺปก ส. อลฺปก).
  • อัปการ
    แปลว่า : ผิดรูป พิการ น่าเกลียด (ป. ส. อปการ).
  • อัพภาส
    แปลว่า : คำซ้ำ การซ้อนคำลงหน้าศัพท์ เช่น สวย ซ้อน สะ ลงหน้าเป็น สะสวย ซ้อน ว่อน ซะ ลงหน้าเป็น ซะซ้อน อย่างว่า ซะซ่อนหน้าท้าวฮุ่งยินกระสัน เงินทองทักท่อเฮาแฮงฮู้ มีดั่งอันอาวต้านเตินหลานให้สว่าง จริงแล้ว ท่อว่าคึดเคียดดั้งกระสันชู้ใคร่ตาย (ฮุ่ง).
  • อัมพร
    แปลว่า : ฟ้า อากาศ (ป. ส.) อย่างว่า ผ่อเห็นก้ำฝ่ายฟ้าซ้องซ่อเขียวนิล พุ้นเยอ อัมพรพานสะเยือกโยงมัวไม้ ทังปวงท้าวเททวงแค้นคั่ง วอนเทพไท้ผายเผี้ยนโผดผาย (สังข์).
  • อัมพวัน
    แปลว่า : ป่าหรือสวนมะม่วง อย่างว่า อัมพาต้นเฟืองไปยมหลอด (กา) เฮียมนี้เป็นดั่งมดแดงเฝ้าอัมพามี้ม่วง กินกะกินบ่ได้คอยเฝ้าแต่ใบ (ผญา).
  • อัยกะ
    แปลว่า : ปู่ ตา อัยโก ก็ว่า (ป. อยฺยก) อย่างว่า เสด็จขาดข้อแล้วเลิกประนมกร จอมเมืองเมือมุ่งความเถิงด้ำ อัยโกแก้วสรวงสางยักษ์ใหญ่มากิน เทื่อนี้กูแต่งฆ่าควายช้างสู่ขวัญ ลูกแล้ว (สังข์) ลูกก็ได้ท่อนท้าวซ้ำใส่แสนนา พ่อเอย ชัยโยแข็งข่มมารมาไหว้ อัยโกแก้วอัยกาก้ำปูมากิน ตูก็มาฮอดไท้จอมเจ้าที่เฮียม นี้แล้ว (ฮุ่ง).
  • อัยกี
    แปลว่า : ย่า ยาย อัยยิกา ก็ว่า (ป. อยฺยิกา) อย่างว่า พอเมื่อบรบวนแล้วอัยยิกาจอมย่า พาหมู่หลานล่วงเข้าอาฮามกว้างข่วงสมณ์ (ย่า).