ภาษาอีสานทั้งหมด 10811 - 10820 จาก 17431

  • แอว
    แปลว่า : เอว เรียก แอว ส่วนกลางของร่างกายระหว่างชายโครงกับกระดูกตะโพกทั้งสองข้าง เรียก แอว อย่างว่า หนูกินม้อนจั่งเห็นคุณแมว ลูกแขวนแอวจั่งเห็นคุณพ่อแม่ (ภาษิต) ลวดอว่ายช้างกลายผ่านเมือเวียง แถนก็ยินดีเติมแต่งกองพานสร้าง เจียงจึ่งเฮียงพลายเข้าเอานางแพงมาด ขึ้นขี่ช้างชูท้าวกอดแอว (ฮุ่ง).
  • แอ่ว
    แปลว่า : วอนขอ เรียก แอ่ว เช่น เด็กอยากข้าวอยากน้ำวอนขอพ่อแม่ เรียก แอ่ว อย่างว่า สามก็คืนมาห้องศาลากวนแอ่ว ขอหมากไม้นำเจ้าพ่อรัสสี (กา) สู่ขอหญิงมาเป็นภรรยา เรียก แอ่วขอ แอ่วโอม ก็ว่า อย่างว่า พี่บ่ไลน้องแก้วชิปุนให้แอ่วโอม (กา) กุมภัณฑ์แค้นเคืองมโนค้อยคั่ง รือจักใช้แอ่วอ้วนโอมน้องก็ใช่การ (สังข์) เชื้อเชิญให้มา เรียก แอ่ว อย่างว่า พระจักปุนป่าวช้างพลพร้อมแอ่วเอา แท้แล้ว (สังข์) ไปเที่ยวชมนกชมป่า เรียก ไปแอ่ว อย่างว่า จักไปแอ่วเต้าไพรกว้างชื่นสงวน (กา) เดือนเฮื่อฟ้าใสส่องวาดา ออระชอนใจซู่ภายพรักพร้อม ฟานโผฮ้องในดงเต้นตื่นเล็มลูกไม้เดินดั้นแอ่วดง (ฮุ่ง) ลอบลัก เรียก แอ่ว อย่างว่า เทื่อนี้กูแอ่วได้โดยประโยชน์อันคนิง แลเด มันก็ฮวายอาคมผาบผีชุมเชื้อ เมื่อนั้นผีเมืองย้านยักโขขามเดช เลยเล่าละหน่อแก้วกลางห้องพ่ายพัง (สังข์) ขอกิน เรียก แอ่วกิน อย่างว่า บ่มีสังแล้วบ่มีแมวชิมาฮ้องแม้วแม่ว มีแต่แมวแม่ป้าชิมาฮ้องแอ่วกิน (บ.).
  • แอ้ว
    แปลว่า : ดับจับสัตว์โดยใช้เหยื่อล่อ หรือใช้เสียงล่อ เช่น เมื่อดักข่ายแล้วร้องเป็นเสียงกบเสียงเขียด เพื่อเรียกให้สัตว์นั้นมาติดข่าย เรียกการทำอย่างนี้ว่า แอ้ว ถ้าใช้เสียงกบ เรียก แอ้วกบ เสียงเขียด เรียก แอ้วเขียด.
  • โอ้
    แปลว่า : คำออกเสียงกล่าวรำพึงหรือปลอบโยนเอาอกเอาใจ.
  • โอ๋
    แปลว่า : เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงพูดปลอบเด็กในเวลาเด็กร้องไห้.
  • โอ่ง
    แปลว่า : ภาชนะสำหรับขังน้ำขนาดใหญ่ ปากกว้าง ก้นสอบเล็กน้อย เรียก โอ่ง อย่างว่า ว่าจักเอาโอ่งน้ำยอถิ้มครอบพระองค์ (สังข์).
  • โองการ
    แปลว่า : คำศักดิ์สิทธิ์ พระดำรัสสั่งพระเจ้าแผ่นดิน เรียก พระราชโองการ พระบรมราชโองการ ก็ว่า (ป. ส.).
  • ซวดน้ำ
    แปลว่า : ดำน้ำ มุดน้ำ
  • โอฐ
    แปลว่า : โอษฐ์ ปาก ริมฝีปาก (ป. โอฏฐ ส. โอษฺฐ) อย่างว่า แล้วจิ่งเอื้อนโอฐเว้าถามข่าวบาคราญ (ผาแดง).
  • โอด
    แปลว่า : พูด เจรจา สนทนา อย่างว่า อันหนึ่งยาโอดอ้างเต็งราษฎรลวงขุน แฮงชมชิงลูกเมียมีเจ้า (สังข์).