ภาษาอีสานทั้งหมด 10831 - 10840 จาก 17431

  • โอม
    แปลว่า : คำสนธิของคำย่อ คำย่อคือ อะอุมะ เมื่อสนธิเข้ากันเป็น โอม ฝ่ายฮินดูหมายถึงพระเจ้าทั้ง ๓ คือ อะ หมายถึงพระศิวะ อุ หมายถึงพระวิษณุ มะ หมายถึงพระพรหม ข้างพระพุทธศาสนาเลียนเอามาเป็นพระรัตนตรัย (อะ หมายถึงพระพุทธเจ้า อุ หมายถึงพระธรรม มะ หมายถึงพระสงฆ์) คำว่า อะ อุ มะ หรือโอม นี้ถือว่าเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ เวท มนต์ คาถา ที่ขึ้นต้นด้วยโอมจึงถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ อย่างว่า ค้อมฮ่ำแล้วลาราชปรางค์ทอง ฮวายมนต์โอมแอ่วโพยมยังฟ้า แยงหนห้องกะไดทองเทวราช พ้นกีบฟ้าเขียวดั้นดุ่งเดิน (สังข์).
  • โอม
    แปลว่า : สู่ขอ สู่ขอหญิงมาเป็นภรรยาเรียก โอม อย่างว่า คันประสงค์ดอมน้องให้มาโอมต้านกล่าว (กา) กุมภัณฑ์แค้นเคืองมโนค้อยคั่ง รือจักใช้แอ่วอ้วนโอมน้องก็ใช่การ (สังข์).
  • โอมอ่าน
    แปลว่า : ปลุก เสก สาธยาย ท่องเสกมนต์ เรียก โอมอ่านมนต์ อย่างว่า ลือมันแท้ธรงมนต์โอมอ่าน กูก็ใกล้บ่ได้เยียวย้านท่านกระทำ (สังข์).
  • โอย
    แปลว่า : เสียงที่เปล่งแสดงความรู้สึกเจ็บปวด หรือรู้สึกแปลกประหลาดอัศจรรย์ว่า โอย โอ๊ย ก็ว่า.
  • โอย
    แปลว่า : น้อมรับ เมื่อผู้ใหญ่สั่งให้ทำก็ยินดีรับทำตามที่สั่ง อย่างว่า บัดนี้เมืองค่ำค้อยเป็นป่าแปนขุน แล้วท่าน ลุงค่อยชมชิงแปลงแต่งมุงเมืองบ้าน เมื่อนั้นวัณนุราก้มโอยพรพร้อมไพร่ ข้าเถ้าหลับบ่ฮู้นอนคู้บ่ฝัน แท้นา (สังข์).
  • โอย
    แปลว่า : ให้ทาน เรียก โอยทาน อย่างว่า ผ่อดูซว่าซว่าพร้อมพันส่ำแสนสัตว์ สกุณานกฮอกหอนแหนอ้ม บาหากโอยทานแท้ยายปันเป็นคู่ สัตว์สิ่งเค้าคณาพร้อมเพิ่งบุญ (สังข์) ของฝากล้วนขันอาจดูตระการ ยอมวลไปกล่าวนายในห้อง มันก็ชมคุณเจ้าโอยทานทูลขม่อม ฮู้ว่ามีเครื่องย้องเมือฟ้าสู่สาว แลซาม (ฮุ่ง).
  • โอยออยชู้
    แปลว่า : ประเล้าประโลม ปลุกปลอบใจ อย่างว่า ผ่อเห็นวันเฮื่อขึ้นไขส่องพองาย พุ้นเยอ แซวแซวเสียงนางนีอั่นโอยออยชู้ สาระพันพร้อมกาเลเค้าค่อน พ่องซักไฮ้สะออนฮ้องเฮียกขวัญ (สังข์).
  • โอยโอยโอ้
    แปลว่า : โอดครวญ การโอดครวญถึงคนที่รักแสนสุดใจ ซึ่งพลัดพรากจากไปโดยไม่มีความผิดพลาด ต้องระทมขมขื่นใจ อย่างว่า พี่ก็เห็นฮูปน้องนั้นแต่ในมโน แลนอ เหมือนหม่อมแนนนำชักฮูปขวัญแขวนไว้ โอยโอยโอ้ฮุนแฮงฮ้อนสวาท เทื่อนี้อ้ายจากเจ้าเจียระฮ้างฮูปไกล แลนอ (สังข์).
  • โอ้โย้
    แปลว่า : เรียกห่อสิ่งของที่ใหญ่แต่ไม่กลมว่า ห่อโอ้โย้.
  • โอรส
    แปลว่า : ลูกชาย ลูกชายของขุนนาง เรียก โอรส (ป. โอรส).