ภาษาอีสานทั้งหมด 1371 - 1380 จาก 17431

  • กล้วย
    แปลว่า : ชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง รูปร่างยาวเรียวและกลม เรียก ปลาฮ่างกล้วย.
  • กล้วย
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ล้มลุกชนิดหนึ่งลักษณะกลม เป็นกอ เวลาดิบรสฝาดเวลาสุกรสหวาน มีหลายชนิด อย่างว่า ที่นั้นมีหมู่กล้วยกุททลีกลำใย ซางแซวเฟืองฝ่าไฟคายค้อ ภูธรท้าวเสวยพลางพอชื่น เสด็จด่วนขึ้นเขาล้านล่วงไป (สังข์).
  • กล้วยญวน
    แปลว่า : กล้วยลูกโต เป็นเหลี่ยม สีหม่น สุกแล้วรสไม่หวานใช้ทำอาหารส้มตำดี เรียก กล้วยญวน.
  • กล้วยตีนเต่า
    แปลว่า : กล้วยลูกเล็กและสั้น มีลักษณะเหมือนตีนเต่า รสหวานเรียก กล้วยตีนเต่า.
  • กล้วยตีบน้อย-ใหญ่
    แปลว่า : กล้วยลูกเป็นเหลี่ยมไม่กลม ขนาดลูกเล็กเรียก กล้วยตีบน้อย ลูกโตเรียก กล้วยตีบใหญ่ รสไม่หวาน.
  • กล้วยทะนี
    แปลว่า : กล้วยตานี กล้วยทะนีมีเมล็ดเวลาสุกไม่หวาน ใช้ตำส้มดี.
  • กล้วยทะนีออง
    แปลว่า : กล้วยน้ำว้า ลูกกลม รสหวาน.
  • กล้วยน้อย
    แปลว่า : ต้นพุทธรักษา ชื่อพรรณไม้ดอกชนิดหนึ่ง เป็นพุ่มคล้ายดอกพุดดอกที่มีกลิ่นหอมเย็นในเวลากลางคืน เรียก ต้นดอกกล้วยน้อย.
  • กล้วยหมูสี
    แปลว่า : กล้วยหอม ลูกกลมเล็ก มีรสหวาน.
  • กลอง
    แปลว่า : เครื่องตีทำด้วยไม้ มีลักษณะกลมกลวง หุ้มด้วยหนัง หุ้มหน้าเดียวก็มี หุ้มสองหน้าก็มี มีทั้งเล็กและใหญ่ สั้นก็มี ยาวก็มี กลองชนิดเดียวกันเมื่อนำไปใช้ในกรณีต่างกัน ก็มีชื่อเรียกต่างกัน ก็ได้นำชื่อกลองแต่ละชนิดมาเรียงไว้ เผื่อสะดวกแก่การจดจำ.