ภาษาอีสานทั้งหมด 2231 - 2240 จาก 17431

  • เกียง
    แปลว่า : ชมพูสาแหรก ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง มีผลกินได้เรียก เกียง อย่างว่า บกพอกพร้อมยมหว้ากอกเกียง (สังข์).
  • เกียด
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้กอชนิดหนึ่ง คล้ายลำเจียก แต่เล็กกว่า เรียก ต้นเกียด.
  • เกียน
    แปลว่า : ตัดใบตองกล้วย เรียก เกียนใบตองกล้วย เจียน ก็ว่า
  • เกียรติ
    แปลว่า : ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ อย่างว่า มารือกุมภัณฑ์ผู้ลือเกียรติ์กงโลกเชื้อส่ำเหง้านางเท้าค่อยคง แด่รือ (สังข์)
  • เกี่ยว
    แปลว่า : เคียว เคียวสำหรับเกี่ยวข้าวหรือเกี่ยวหญ้าเรียก เกี่ยว อย่างว่า อย่าเกี่ยวหญ้ามุงท่ง (ภาษิต).
  • เกี่ยว
    แปลว่า : มือที่กำไว้นานหรือถูกความเย็นจนไม่รู้สึกตัว เรียก เกี่ยวกินมือหรือมือเป็นเหน็บ อย่างว่า โต๋โต่งโต๋นารีโต่งโต้น โต๋โต่งโต้นผู้สาวโหย้นนมมา โหย้นนมมา ผัดแม้นนมเหี่ยว คันบาคั้นย้านเกี่ยวกินมือ (กลอน) เจ้าจักละน้องไว้หนาวกระด้างเกี่ยวกิน แลนอ (สังข์).
  • เกี้ยว
    แปลว่า : ผูก, พัน, รึงรัด อย่างว่า เห็นว่าอีอีฮ้องอย่าวางใจว่าจักจั่น ลางเทื่อเสียงเห่าห้อมเขียวเกี้ยวก็หากมี (ย่า).
  • เกือ
    แปลว่า : เลี้ยง, ขุน ขุนหมูเรียก เกือหมู เลี้ยงหม่อน เรียก เกือม้อน อย่างว่า ม้อนนอนอย่าเกือ เสือนอนอย่าปลุก (ภาษิต). เลี้ยงคนเรียก เลี้ยง ธรรมเนียมมีอยู่ ถ้าเลี้ยงคนต้องให้เหลือถ้าเกือสัตว์ต้องให้อิ่ม อย่างว่าเลี้ยงให้เหลือ เกือให้อิ่ม (ภาษิต).
  • เกื้อ
    แปลว่า : อุดหนุน, เกื้อกูล การเกื้อกูลอุดหนุนกัน เรียก เกื้อ อย่างว่า การใผมีค่อยเทียวทำเกื้อ (สังข์).
  • เกื้อง
    แปลว่า : สะบัด ส่วนของร่างกายดัดจากบ่าลงไปข้างล่าง เรียก เกื้อง.