ภาษาอีสานทั้งหมด 6591 - 6600 จาก 17431

  • ป่าเฮ่ว
    แปลว่า : ป่าเป็นที่เผาหรือฝังศพคนตายเรียก ป่าเฮว ป่าเฮ่วนี้ใช้เรียกมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ จะมาเรียกเป็นป่าช้าเมื่อไม่กี่ปีมานี้ คำว่าป่าเฮ่วมีปรากฏในวรรณคดีอีสาน ซึ่งวรรณคดีนั้นจะมีอายุตั้งแต่ห้าร้อยปีขึ้นไป.
  • ป่ำรือ
    แปลว่า : บำเรอ รับใช้ ปฏิบัติ อย่างว่า ผ่อเห็นวันวิ่งค้อยส้วยต่ำเสียแสง พุ้นเยอ ขุนก็ทูลธรรม์ยำป่ำรือเลียนนิ้ว วีคำเหลื้อมหลายถันส้วยสั่น ไฟเฮื่อใต้โคมแต้มแต่งยาย (สังข์) ฝูงเพื่อนพร้อมเนานั่งในสถาน ยอมือทูลป่ำรือบาท้าว บุญสูงต้านทุกประการแหนกล่าว กาก่องก้าวผลไล้ลูบมัน (ฮุ่ง).
  • ปิ่ง
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงที่เคาะโลหะแผ่นเล็กๆ ดังปิ่ง.
  • ปิ้ง
    แปลว่า : ทำให้สุกด้วยไฟเรียก ปิ้ง อย่างว่า คราวเมื่อเว้าหมายชิเอามาจี่ บาดว่ามาฮอดแล้วสังบ่ปิ้งจี่กิน (ผญา).
  • ปิ้ง
    แปลว่า : เงียบ สงัด อย่างว่า คอยหาราชทูตใช้เย็นปิ้งไป่มา (หน้าผาก) เมืองผีปิ้ง ปุนเสียงสงัดอยู่ (สังข์).
  • ปิ่งสิ่ง
    แปลว่า : เบิกบาน สดใส หน้าตาเบิกบาน เรียก หน้าปิ่งสิ่ง อย่างว่า ปิ่งสิ่งหน้าแนวเชื้อหน่อพระยา (กา) ก็หากปิ่งสิ่งหน้าเสมอดั่งเดือนเพ็ง (ผาแดง).
  • ปิ๊ดลิด
    แปลว่า : ของที่มีลักษณะแหลมและเล็ก เรียก แหลมปิ๊ดลิด.
  • ปิตตะ
    แปลว่า : น้ำดี น้ำจากต่อมตับ (ป.).
  • ปิตา
    แปลว่า : พ่อ (ป.) อย่างว่า รือว่าพระวรปิตาใช้หลานดลดั้นยาก บัดนี้อาเล่าแพงยักษ์ล้ำลืมชั้นพระเชษฐา (สังข์).
  • ปิ่น
    แปลว่า : เครื่องประดับสำหรับปักที่ผมเวลาเกล้าเป็นจุก เรียก ปิ่นปักเกล้า อย่างว่า นางก็ลงเถิงห้องเฮือนครัวคุ้มฮุ่ง อาก็ลืมปิ่นเกล้าหัวแก้วค่าคาม (สังข์).