ภาษาอีสานทั้งหมด 9901 - 9910 จาก 17431

  • หล้อน
    แปลว่า : ต้นไม้ตายยืนเหลือแต่แก่น เรียก ไม้แก่นหล้อน ไม้จำพวกนี้ไม่งอกอีก อย่างว่า นึกว่าตอคะยูงแล้วแมวสีสังมาโค่น นึกว่าไม้แก่นหล้อนสังมาปลิ้นป่งใบ (ผญา).
  • หล้อน
    แปลว่า : ล่อน หลุด กะเทาะ เช่น กะเทาะเม็ดมะขาม เรียก หล้อนหมากขาม.
  • หลอนแหลน
    แปลว่า : บางครั้ง บางที บางคราว เรียก หลอนแหลน อย่างว่า ลางเทื่อเฮ็ดถืกข้อชิเห็นหน่อเงินคำ หลอนว่าบุญมีเฮาชิขี่เกวียนเทียมช้าง หลอนว่าหลอนแหลนได้คอนแลนชาเต่า ลางเทื่อเฮ็ดถืกข้อชิเห็นท้างปล่องมา (ย่า).
  • หลอย
    แปลว่า : แอบฉวยเอาไป เช่น ขโมยลอบลักเอาเสื้อผ้าหรือเงินทองในเมื่อเจ้าของเผลอ เรียก หลอยเอา.
  • หล้อย
    แปลว่า : คล่อง ไม่ฝืด เรือที่พายไปสะดวกไม่ติดขัด เรียก ม่อนหล้อย หล้อยหล้อยไป ก็ว่า.
  • หละ
    แปลว่า : ละ เป็นคำประกอบกิริยาบอกความแน่นอน เช่น ถืกหละ แม่นหละ เอาจั่งซั้นหละ แม่นความนั้นหละ.
  • หลัก
    แปลว่า : เสาที่ปักไว้ ที่ผูก ที่มั่น หลักสำหรับผูกควาย เรียก หลักควาย หลักสำหรับผูกวัว เรียก หลักงัว หลักปักเขตเรียก หลักเขต.
  • หลัก
    แปลว่า : ปกปิดเรื่องของตนไม่ให้คนอื่นรู้ อย่างว่า ดึ้กดัก หลักใน (บ.).
  • หลัก
    แปลว่า : ฉลาด หลักแหลม อย่างว่า คนหลักเป็นใบ้ ใจเบาคึดบ่ถืก (ปัสเสน).
  • หลักแหล่ง
    แปลว่า : ที่อยู่ประจำ.