ภาษาอีสานหมวด "ก" 481 - 490 จาก 1872
-
กระโทก
แปลว่า : ผ้าที่ผูกเป็นเปลหรือเป็นถุงคล้องไว้ที่คอ, เรียกบึงหรือหนองที่มีลักษณะอย่างนี้ว่า บึงกระโทก หนองกระโทก เรียกต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใบคล้ายใบผักหวาน แต่เป็นของเบื่อเมา. -
กระบก
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใหญ่และสูง ใบรูปไข่ ผลเท่ามะกอกหรือมะปรางขนาดเขื่อง เมล็ดในมีรสมัน กินได้ เมล็ดทำเป็นน้ำมันจุดโคมไฟในเวลาเทศกาลออกพรรษา เรียก กระบก หมากบก ก็ว่า อย่างว่า ฝนชิตกหมากบกชิหล่นฟ้าแฮ่งฮ้องพายข้องไล่งัว ผัวชิหนีคันหียาบยาบ (กลอน). -
กระบวน
แปลว่า : ท่าที, ชั้นเชิง อย่างว่า คือคู่แฝงเงาเพี้ยงดูกระบวนใผค่อง คันว่าฮูปฉ่างฉ้ายเงานั้นบ่ต่างกัน (อิน) ให้พ่อคึดเกี่ยวก้ำกระบวนเนื่องแนนสม ญิงชายในโลกาเกี่ยวกันหลายด้าน (สังข์). -
กระบวน
แปลว่า : คล้าย, เหมือน อย่างว่าฝันว่าข้าต่างด้าวเดินฮอดเฮียงสาร สีสันกระบวนดั่งโขนเขาแต้ม จาระจาเข้มคำฟุนซึกซาก ภูวนาถน้อยใจวิ้นหว่ากลัว (สังข์) ดูกระบวนหน้าคือสิงห์เหาะแล่น (กา). -
กระบวย
แปลว่า : ภาชนะสำหรับตักน้ำ ทำด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามสำหรับจับ เรียก กระบวย บวย ก็ว่า อย่างว่า บวยบ่มีด้ามชิเสียทรงทังวาด เขาชิเอิ้นกะโป๋หมากพร้าว บ่มีเอิ้นว่าบวย (ย่า). -
กระบอก
แปลว่า : ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อนไม้มีข้อเรียก กระบอก ขนาดใหญ่เรียก กระโบก มีข้อข้างหนึ่งเรียก กระบั้ง อย่างว่า กูกะจกกระบอก กูกะซอกกระบั้งเทให้ทอดทาน (บ.). -
กระบองเพชร
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งไม่มีใบ ลำต้นหรือกิ่งเป็นเหลี่ยม ดอกคล้ายดอกลำโพง มีหนามรอบ มีกลีบขาว บานกลางคืน มีกลิ่นหอม เรียก ต้นกระบองเพชร หนามอี่เถ้า หนามผ้ำ ก็ว่า เพราะถ้าหนามปักใครคนนั้นจะเป็นผ้ำ. -
กระบอม
แปลว่า : ภาชนะที่ขุดเป็นร่อง มีรูปกลม ใช้สำหรับสงข้าวเหนียวเวลานึ่งสุกแล้ว เรียก กระบอม กระโบม ก็ว่า. -
กระบั้ง
แปลว่า : กระบอกไม้ไผ่มีข้อข้างหนึ่ง ข้อหนึ่งทำเป็นฝาสำหรับปิด เรียก กระบั้ง บั้ง ก็ว่า ใส่เกลือเรียกบั้งเกลือ ใส่แจ่วเรียกบั้งแจ่ว ใส่ปลาร้าเรียกบั้งปลาแดก ใส่ปี้เรียกบั้งปี้ ใส่ชาตาเรียกบั้งชาตา ใส่เงินเรียกบั้งเงิน -
กระบี่
แปลว่า : มีดยาวเหมือนดาบ มีฝักและมือจับ โบราณใช้เป็นเครื่องรบราฆ่าฟันกันเรียก กระบี่ อย่างว่า ไม้โค่นค้านเดียระดาษดอยดง ผาหลวงลดคื่นเค็งมันม้าง มันก็แยงศรีแก้วศิลป์ชัยชวงสวบ ภูวนาถน้าวตาวแก้วกระบี่บัง (สังข์).