ภาษาอีสานหมวด "ก" 501 - 510 จาก 1872
-
กระป่อม
แปลว่า : ลำเผือกหรือลำสะโน ไม้สองชนิดนี้น้ำหนักเบา ตัดยาวขนาดคืบผูกเชือกห่างกันประมาณหนึ่งศอก ขึงในเวลากางมองหรือกางนาม ใช้ขึงมองเรียก ป่อมมอง ขึงนามเรียก ป่อมนาม. -
กระปุ่ม
แปลว่า : ชื่อภาชนะชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ รูปกลมใหญ่ มีฝาปิดสานด้วยไม้ไผ่เช่นกัน ใช้สำหรับใส่สิ่งของ มีเสื้อผ้าเป็นต้น. -
กระเปา
แปลว่า : กระเป๋ารูปสี่เหลี่ยม ทำด้วยหนังหรือผ้า สำหรับใส่สิ่งของ ถือไปก็มี คาดเอวก็มี ส่วนที่เย็บติดเสื้อหรือผ้า เรียก กระเปาเสื้อหรือกระเปาผ้า ถงเสื้อถงผ้า ก็ว่า. -
กระเป๊าะ
แปลว่า : ชื่อภาชนะสานด้วยไม้ไผ่อย่างหนึ่ง เรียก กระเป๊าะ เล็กกว่ากระบุง ใช้เชือกเป็นสาย เรียก กระเป๊าะ กะเทาะ ก็ว่า. -
กระโปรง
แปลว่า : ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากลนิยมโบราณผู้หญิงใช้ผ้าซิ่นที่มีหัวมีตีน ถ้าไม่มีหัวมีตีนถือว่าคะลำ. -
กระพอก
แปลว่า : กระบอกไม้ไผ่ที่มีด้าม สำหรับตักของที่เป็นน้ำ พ่อค้าที่ขายน้ำอ้อยน้ำตาลจะต้องมีกระบอกชนิดนี้ กระบอกชนิดนี้เรียก กระพอก กระบอก จอก ก็ว่าว่า. -
กระพอง
แปลว่า : ศีรษะช้างที่นูนเป็นปุมสองข้างเรียก กระพองช้าง (ข.). -
กระพ้อม
แปลว่า : ชื่อภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่รูปคล้ายกระบุง แต่เล็กกว่า ใช้เชือกเป็นสาย สำหรับตวงข้าวเปลือกหรือข้าวสารเวลาแม่ค้าไปแลกข้าวจะนำกระพ้อมนี้ไปตวง เครื่องตวงนี้เรียก กระพ้อม อย่างว่า ไถนาแล้วอย่าลืมควายกับแอก ถืกห่าเข้าบาทพ้อม ยังชิโอ้อ่าวเถิง (ภาษิต). -
กระพัตร
แปลว่า : สายรัดบนกูบช้าง. -
กระพา
แปลว่า : เครื่องสานชนิดหนึ่ง สำหรับใส่สิ่งของบรรทุกหลังคน มีสายรัดไขว้หน้าอก เรียก กระพา เป้ ก็ว่า.