ภาษาอีสานหมวด "ข" 551 - 560 จาก 970
-
เข้ากก
แปลว่า : ข้าวสารที่นึ่ง หรือข้าวสารที่ตำทีแรก เรียก เข้ากก ที่ตำครั้งสุดท้ายเรียก เข้าปลาย. -
เข้ากรรม
แปลว่า : 1.)การอยู่ไฟ การอยู่ไฟของผู้หญิง เมื่อคลอดลูกแล้วจะต้องอยู่ไฟ เพื่อให้มดลูกเข้าอู่และให้มีร่างกายแข็งแรง เป็นพิธีกรรมในการออกลูกของคนโบราณ. 2.)การเข้าปริวาสมานัตและอัพภาน เรียก เข้ากรรม ธรรมเนียมมีว่า เมื่อภิกษุต้องอาบัติหนัก จะต้องอยู่กรรมเสียก่อนจึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ การอยู่กรรมของภิกษุนี้ถือเป็นประเพณีหนึ่งในประเพณีทั้งสิบสองของภาคอีสาน หรือที่เรียกกันว่าฮีตสิบสอง. -
เข้ากล้อง
แปลว่า : ข้าวที่ตำแล้ว แต่ยังมีเปลือกติดอยู่เป็นส่วนน้อย ยังไม่ได้ซ้อม เรียก เข้ากล้อง. -
เข้าก่ำ
แปลว่า : ข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียวสีแดงปนดำเรียก เข้าก่ำ. -
เข้าขว้าง
แปลว่า : ข้าวฟ่าง ชื่อข้าวชนิดหนึ่งคล้ายข้าวโพด ผลเป็นรวง เม็ดเล็กใช้กินเป็นอาหารแทนข้าวได้ เรียก เข้าขว้าง. -
เข้าข้อ
แปลว่า : ชื่อกามโรคชนิดหนึ่ง เมื่อเป็นแล้วจะลุกลามไปทำลายข้อ เรียก โรคเข้าข้อ เข้าข้อออกดอก ก็ว่า. -
เข้าขั้ว
แปลว่า : ข้าวขั้ว ข้าวสารที่คั่วให้เกรียมแล้วป่นให้ละเอียด สำหรับปรุงอาหารเช่น ใส่ลาบ ใส่ก้อย ใส่ส้มปลาน้อย ใส่หม้ำหรือใส่แกงหน่อไม้ เรียก เข้าขั้ว. -
เข้าเขียบ
แปลว่า : ข้าวเกรียบ ข้าวเกรียบที่ทำเป็นแผ่นบางๆ เรียก เข้าเขียบ เข้าโป่ง เข้าเขิบ ก็ว่า. -
เข้าโคตร
แปลว่า : ข้าวโพด ชื่อธัญญชาติชนิดหนึ่ง มีผลเป็นฝัก ใช้กินแทนข้าวได้เกิดตามป่า ข้าวชนิดนี้น่าจะเกิดก่อนข้าวทุกชนิด คนโบราณจึงเรียก เข้าโคตร หรือโคตรเข้า คือเป็นต้นตอของข้าวเรียก เข้าโคตร. -
เข้าโคบ
แปลว่า : ชื่อขนมชนิดหนึ่ง เอาข้าวเหนียวนึ่งตากแดดใช้ทอดด้วยน้ำมัน เรียก เข้าโคบ.