ภาษาอีสานหมวด "ข" 571 - 580 จาก 970
-
เข้าตัง
แปลว่า : ข้าวสุกที่ติดเป็นแผนเกรียมอยู่ก้นหม้อ เรียก เข้าตัง. -
เข้าถง
แปลว่า : ข้าวสารหรือเข้าตากที่จัดใส่ถุงเพื่อเป็นสะเบียงในเวลาไปค้าขายในที่ไกล เรียก เข้าถง เข้าไถ่เข้าถง ก็ว่า. -
เข้าถง
แปลว่า : ข้าวเปลือกที่ตำเป็นข้าวสารที่ชาวนาจัดเตรียมไว้ก่อนลงมือทำนา เรียก เข้าถงนา เข้าถงลงนา ก็ว่า. -
เข้านก
แปลว่า : หญ้าละมาน ชื่อหญ้าชนิดหนึ่งมีเมล็ดคล้ายข้าว นกชอบกิน เรียก เข้านก เข้าลี้นก ก็ว่า. -
เข้าบ่าวนา
แปลว่า : เข้าเปลือกที่ให้แก่ลูกจ้างผู้มารับจ้างทำนา เรียก เข้าบ่าวนา. -
เข้าเบือ
แปลว่า : ข้าวสารแช่น้ำแล้วโขกให้ละเอียดหรือข้าวสุกจี่ไฟ ผสมลงในแกงหน่อไม้ เพื่อให้มีรสอร่อย เรียก เข้าเบือ. -
เข้าประดับดิน
แปลว่า : การทำบุญในวันสิ้นเดือนเก้า โดยการห่อของคาวและหวานในใบกล้วย มัดเป็นห่อใหญ่ นำไปวางตามกิ่งไม้หรือบนดิน เพื่อโปรดสัตว์นรก อุทิศส่วนกุศลแก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ. -
เข้าปลูก
แปลว่า : ข้าวเปลือกสำหรับทำพันธุ์เรียก เข้าปลูก ชาวนาที่ดีจะต้องเลือกเอาข้าวเปลือกพันธุ์ดีไว้ทำพันธุ์เข้าปลูกนี้เรียก เข้าปลูกแนว การทำนาโดยวิธีเลือกพันธุ์เข้าปลูกดีเป็นความเจริญแก่ครอบครัวและประเทศชาติ. -
เข้าปาด
แปลว่า : ขนมเปียกปูน โบราณเรียกเข้าปาด การทำคือนำเอาข้าวสารไปแช่น้ำแล้วตำให้ละเอียดขูดมะพร้าวและน้ำอ้อยหรือน้ำตาลผสมเข้ากัน นำไปต้มไฟให้สุกเทลงในกระด้ง ทำเป็นแผ่นบางๆ ตากแดดไว้ เวลาจะกินใช้มีดปาดเป็นชิ้นๆ จะเป็นเพราะคนใช้มีดปาดขนมนี้ คนโบราณจึงเรียก เข้าปาด. -
เข้าปุ้น
แปลว่า : ขนมจีน เรียกเข้าปุ้น นำข้าวสารเหนียวมาหมักน้ำไว้สักสองสามคืน แล้วนำไปตำให้ละเอียด ผสมน้ำคั้นให้เข้ากันแล้ว กรองด้วยผ้าบางๆ ใส่ถุงแขวนไว้ นำไปต้มให้สุกแล้วปั้นเป็นก้อน ต้มน้ำให้เดือดบีบให้เป็นเส้นด้วยเฝียน สำเร็จเป็นเส้นเรียก เส้นข้าวปุ้น.