ภาษาอีสานหมวด "ข" 561 - 570 จาก 970
-
เข้าไค
แปลว่า : ชื่อเห็ดชนิดหนึ่ง เกิดตามจอมปลวก หลังมีสีเหมือนสีขี้ไคล ดอกใหญ่ใช้เป็นอาหารได้ เรียก เห็ดไค เห็ดเข้าไค ก็ว่า. -
เข้าจ้ำ
แปลว่า : การละเล่นชนิดหนึ่งเป็นการเล่นของเด็กๆ จำนวนตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ปั้นข้าวเหนียวหนึ่งปั้นยืนเป็นแถวส่งข้าวเหนียวต่อกันไป ส่งให้ใครก็ได้ส่งโดยเร็วจนไม่สามรถจำได้ว่าปั้นข้าวอยู่กับใคร เมื่อเห็นสมควรก็ถามว่าข้าวเหนียวอยู่กับใครถ้าใครตอบถูกก็ชนะ. -
เข้าจ้ำ
แปลว่า : ข้าวผอกผี ข้าวผอกผีมีข้าวเหนียวหนึ่งปั้น กล้วยหนึ่งใบ ถ้ากล้วยไม่มีเอาน้ำอ้อยหนึ่งก้อนแทน เมื่อมีภูตผีปีศาจเข้าสิงใคร เถ้าจ้ำหรือหมอผีจะมาทำพิธีเชิญผีออก โดยเอามือขวาจับเครื่องผอกแล้วพูดเชิญผีออก พูดจบก็เอาของผอกจ้ำลงที่ตัวคนไข้แล้วโยนผอกไปทิศตะวันตก. -
เข้าจี่
แปลว่า : ชื่อพรรณไม้พุ่มชนิดหนึ่ง ลูกเล็ก สีดำ ใช้กินได้เรียก ต้นเข้าจี่. -
เข้าจี่
แปลว่า : ข้าวเหนียวนึ่ง ปั้นเป็นก้อน ใช้ไม้เสียบตรงกลาง โรยเกลือแล้วปิ้งไฟให้สุก เมื่อสุกแล้วทับไข่ทาแล้วปิ้งอีก ถอดไม้เสียบออก เอาก้อนน้ำอ้อยเข้าไป เข้าจี่นี้กินอร่อย เด็กๆ ชอบกิน. -
เข้าจี่
แปลว่า : ชื่อบุญเข้าจี่ บุญที่ทำในระหว่างเดือนสาม โดยปรารภเข้าจี่เป็นมูลเหตุชาวอีสานมีอาชีพในการทำนา เมื่อได้เข้ามาแล้วก็รวมกันทำบุญเข้าจี่ เข้าจี่ก็ทำดังที่กล่าวมาแล้ว นอกจากข้าวจี่แล้วก็มีข้าวปลาอาหารชนิดอื่นอีก การทำบุญเข้าจี่ถือเป็นประเพณีประจำ ในเดือนสาม -
เข้าโจ้
แปลว่า : ข้าวต้มเปล่า กินกับของกับ หรือข้าวต้มผสมเครื่อง ตรงกับที่จีนเรียก โจ๊ก ข้าวต้มชนิดนี้คนอีสานไม่ชอบกิน จะกินก็แต่พวกเข้าขาดแลงแกงขาดหม้อ หากินไม่พอปากพอท้อง ลูกหลานหลายหน่วยตาได้พอกอบ ของกับหรือของเหมือดมีกลอยหรือมันเพราะข้าวมีน้อยต้องหากับข้าวเพิ่มอีก. -
เข้าต้ม
แปลว่า : ข้าวต้มมัด ห่อด้วยใบกล้วยทำเป็นกลีบๆ มัดติดกันเป็นสามกลีบเรียก เข้าต้มมัด เวลาจะกินเอามะพร้าวขูดผสมน้ำอ้อยหรือน้ำตาล เรียก เข้าต้มเกลือก. -
เข้าต้ม
แปลว่า : ข้าวที่ผสมกะทิมะพร้าวห่อด้วยใบตองกล้วยอ่อน ทำเป็นกลีบๆ นึ่งให้สุก เรียก เข้าต้มผัด. -
เข้าตอกแตก
แปลว่า : ข้าวตอก ข้าวเปลือกที่คั่วไฟให้แตก เรียก เข้าตอกแตก เข้าตอกแตกที่คลุกกับน้ำอ้อย เรียก เข้าหนมตอกแตก ใช้ยกครูเรียนมนต์หรือเรียนธรรมเรียก จอกเข้าตอกแตก ใช้หว่านในเวลานำศพไปป่าช้า เรียก หว่านเข้าตอกแตก.