ภาษาอีสานหมวด "ข" 581 - 590 จาก 970
-
เข้าเปียก
แปลว่า : ต้มข้าวสารแต่น้อย ใส่น้ำให้มาก กินกับปลาหรือเนื้อ ถ้าใส่น้ำตาลหรือน้ำอ้อย เรียก เข้าเปียกหวาน. -
เข้าพอง
แปลว่า : ข้าวเหนียวนึ่งตากแห้ง คั่วให้เม็ดพอง อัดเป็นแผ่นกลม แล้วหยอดน้ำอ้อยหรือน้ำตาลเป็นวงกลม เรียก เข้าพอง. -
เข้ามธุปายาส
แปลว่า : ข้าวเหนียวนึ่งที่ระคนด้วยน้ำผึ้ง น้ำอ้อยและน้ำนมวัว เป็นข้าวที่มีรสอร่อย เช่น ข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาทำถวายพระพุทธเจ้าก่อนที่จะได้ตรัสรู้เรียก เข้ามธุปายาส. -
เข้าล้าน
แปลว่า : ภูเขาทั้งสูงใหญ่และกว้างขวาง เรียก เขาล้าน อย่างว่า บาก็จัดฮีบฮ้อนเยียวฮุ่งฮามการ นางก็เดินดอมหลานดุ่งทางทังเยื้อน เขียวคืนพ้นทวารทองท้าวบาป ผ่อเห็นเดือนด่วนขึ้นเขาล้านส่องใส (สังข์). -
เข้าเลียนเม็ด
แปลว่า : ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวนึ่ง อัดลงในไม้แบบกลมหรือเหลี่ยม ตากแห้งแล้วนำมาทอดน้ำมัน หยอดน้ำอ้อยหรือน้ำตาล เรียก เข้าเลียนเม็ด เข้าเรียงเม็ด เข้านางเล็ด ก็ว่า. -
เข้าสัตตุ
แปลว่า : ข้าวตู ข้าวเหนียวนึ่งตากให้แห้งแล้วตำเคล้ากับน้ำอ้อยหรือน้ำตาลมี ๒ ชนิด ชนิดที่เป็นก้อนเรียก สัตตุก้อน เป็นผลเรียก สัตตุผล ข้าวสองชนิดนี้ใช้เป็นสะเบียงเดินทางไกลหรือไปทางเรือ. -
ข้าวสาก
แปลว่า : ข้าวที่ถวายพระสงฆ์ด้วยการจับสลากถวาย การทำบุญข้าวสากปรารภเหตุเหมือนข้าวประดับดิน แต่ทำในรุ่งอรุณของวันเพ็ญเดือนสิบ เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวอีสาน. -
เข้าหนม
แปลว่า : ขนมที่ทำด้วยข้าวหรือแป้งผสมน้ำอ้อยหรือน้ำตาล มีชื่อเรียกตามชนิดของมัน แต่เมื่อรวมแล้วเรียก เข้าหนม. -
เข้าหนมแดกงา
แปลว่า : ข้าวเหนียวนึ่งเคล้ากับงาที่คั่วสุกแล้ว ใส่น้ำตาลหรือน้ำอ้อย เรียก เข้าหนมแดกงา. -
เข้าหนมถั่ว
แปลว่า : ขนมที่เคล้ากับถั่วดินหรือถั่วลิสง ผสมน้ำอ้อยหรือน้ำตาล เรียก เข้าหนมถั่ว เข้าหนมถั่วดิน ก็ว่า