ภาษาอีสานหมวด "ข" 601 - 610 จาก 970
-
เขาะ
แปลว่า : เกราะ ไม้แก่นรูปสี่เหลี่ยมรีแขวนไว้ตามบ้านเจ้าบ้านเจ้าเมือง ตีประชุมในเวลามีกิจบ้านการเมือง เรียก เขาะ กอลอ ขอลอ ก็ว่า. -
เขิง
แปลว่า : ตะแกรง เครื่องจักรสานทำด้วยไม้ไผ่ ใช้สำหรับร่อนรำ มีตาเล็กๆ เรียก เขิงฮ่อนฮำ. -
เขิง
แปลว่า : วางผัง เช่นจะปลุกเรือนต้องวางผัง ผังที่วางนี้เรียก เขิงเฮือน. -
เขิง
แปลว่า : เคี่ยวเข็ญ จะทำอะไรก็ไม่ไตร่ตรองพิจารณาให้รอบคอบ สั่งไปโดยพลการเรียก เขิงเขี้ยว อย่างว่า มีแต่เขิงแข่งเขี้ยวมีได้ไตร่ตรอง. -
เขิง
แปลว่า : รีบร้อน เร่งด่วน อย่างว่า ฮ้อยที่การเขิงเขี้ยวเถิงบาตนลูก พระบาทเจ้าทันน้อยด่วนไป (กา). -
เขิง
แปลว่า : ขึ้งเคียด, โกรธจัด อย่างว่า เห็นที่ผัวเขิงเขี้ยวโกรธาเคียดเคร่ง ว่าให้ฮีบฟั่งฟ่าวเดียวนี้อย่านาน (กา) คันว่าพระพ่อฮู้ชิเขิงเขี้ยวโกรธเค็ม บ่อย่าแล้ว (เวส). -
เขิงขอบ
แปลว่า : การทำพิธีตักเตือนสะใภ้หรือเขยผู้ล่วงเกินพ่อตาแม่ยาย ให้รู้สึกตัวแล้วขมาโทษ เรียก เขิงขอบ. -
เขิน
แปลว่า : ชื่อคนไทยเผ่าหนึ่งในภาคเหนือ เรียก ไทยเขิน เครื่องใช้ที่คนไทยพวกนี้ทำเรียก เครื่องเขิน. -
เขิน
แปลว่า : แห้ง, งวด หนองที่น้ำกำลังจะแห้ง เรียก หนองเขิน อย่างว่า เฮียมนี้เป็นดังปลาเข็งข้อน ในหนองน้ำเขินขาด (ผญา). -
เขิน
แปลว่า : ขาด คนที่ไม่มีอันจะกินเรียก คนเขินขาด ขาดเขิน ก็ว่า หญิงที่นุ่งผ้าข้างหลังยาว ข้างหน้าสั้นเรียก นุ่งซิ่นเขิน กลอนที่ไม่สัมผัสกัน เรียก กลอนเขิน นาที่สูงกว่าระดับน้ำเรียก นาเขิน.