ภาษาอีสานหมวด "ข" 591 - 600 จาก 970

  • เข้าหนมสาระวง
    แปลว่า : ข้าวเหนียวนึ่ง เคล้าน้ำอ้อยหรือน้ำตาล ทำเป็นแผ่นกลมๆ คลายกงเกวียน เรียก เข้าหนมสาระวง เข้าหนมสาระวงกงเกวียน ก็ว่า
  • เข้าหนมหมก
    แปลว่า : ขนมที่ใช้ใบกล้วยหมกเป็นห่อๆ เรียก เข้าหนมหมก เข้าหนมเทียน ก็ว่า
  • เข้าหม่า
    แปลว่า : ข้าวหมัก ข้าวเหนียวที่หมักไว้เพื่อนึ่ง เรียก เข้าหม่า จะหม่าเพื่อทำขนมหรือนึ่ง ก็เรียก เข้าหม่า เหมือนกัน
  • เข้าหมาก
    แปลว่า : ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว คลุกกับแป้ง (ส่าเหล้า) ห่อด้วยใบตองกล้วยเป็นหมกๆ เรียก เข้าหมาก.
  • เข้าหลาม
    แปลว่า : ข้าวสารเหนียวใส่กระบอกไม้ไผ่อ่อน แช่น้ำไว้ชั่วระยะหนึ่ง เวลาจะเผาไฟเทน้ำออกใส่น้ำกะทิเข้าไปแล้วเผาไฟให้สุก เรียก เข้าหลามกะทิ ถ้าไม่ใส่กะทิเรียก เข้าหลามธรรมดา.
  • เข้าหลุ้ง
    แปลว่า : ข้าวเหนียวต้มใส่กะทิ น้ำอ้อยหรือน้ำตาล กะให้น้ำพอดี ไม่ให้ข้นหรือเหลวเกินไป เรียก เข้าหลุ้ง เข้าหล้ง ก็ว่า ข้าวชนิดนี้นิยมทำเลี้ยงแขกในงานปลูกบ้านใหม่.
  • เข้าเหม้า
    แปลว่า : ข้าวเม่า ข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่ เกี่ยวมาคั่วให้สุกด้วยไฟ ตำเอาเปลือกออก เรียก เข้าเหม้า ถ้าข้าวอ่อนมากถึงจะคั่วให้สุกเวลาตำข้าวจะติดกันเป็นก้อนๆ เรียก เข้าเหม้าขี้แมว.
  • เข้าแห้ม
    แปลว่า : ข้าวที่นึ่งหรือหุงด้วยไฟแรงจะติดก้นหม้อหรือก้นหวด ข้าวที่ติดกับก้นหม้อหรือก้นหวดนี้เรียก เข้าแห้ม.
  • เข้าฮาง
    แปลว่า : ข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัด เอามาคั่วไฟแล้วตำเหมือนข้าวเม่า ตากแดดให้แห้งแล้วเก็บไว้ ต้องการกินเมื่อไรก็นำไปนึ่ง เรียก เข้าฮาง.
  • เขาะ
    แปลว่า : เครื่องแขวนคอสัตว์ ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ เหล็ก ทองเหลือง ทองแดง ใช้แขวนคอควาย เรียก เขาะควาย แขวนคอวัว เรียก เขาะงัว ขอ ก็ว่า.