ภาษาอีสานหมวด "ค" 125 - 134 จาก 975
-
ค้งน้ง
แปลว่า : โก่ง โค้ง สิ่งที่มีลักษณะโก่งโค้งมากเรียก ก่งค้งน้ง โค้งโน้ง ก็ว่า ถ้าก่งนิด เรียก ก่งค้องน้อง อย่างว่า บักค้งน้งข้วมท่งสามแสน ใผทวยได้ได้แหวนวงหนึ่ง (ปัญหา). -
ค้งย้ง
แปลว่า : อาการตั้งอยู่หรือยืนอยู่ของสิ่งของขนาดใหญ่ เรียก ยืนค้งย้ง ขนาดเล็กว่า ยืนค้องย้อง. -
คชนาม
แปลว่า : พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นช้าง เกิดในนครสาเกตุ อย่างว่า บัดนี้จักกล่าวเรื่องท้าวท่านมหาพรหม เป็นผู้มีเดโชฤทธิ์แฮงแข็งกล้า แปลงเป็นนาเคนทรช้างพลายสารเลยล่วง ลงสู่ห้องสาเกตเมืองคน เป็นพลายสารใหญ่โตเหลือล้น ฮอยมันได้สามวายังย่อม โตขนาดแท้ทวยช้างไต่ตาม. -
คชสีห์
แปลว่า : สัตว์มีงวงเหมือนช้าง เรียก คชสีห์ อย่างว่า งาแทงจิ้มคชสีห์กวนเกิบ (ฮุ่ง). -
คชฮ่ม
แปลว่า : ร่มบนหลังช้างเรียก คชฮ่ม อย่างว่า แต่นั้นเฟื่องเฟื่องกั้งคชฮ่มพานคำ จอมเมืองเสด็จนั่งเทิงพิมานแก้ว นงศรีเจ้าจอมนางง้อมม่วน ขึ้นขี่ช้อนพิมานแก้วฮ่วมเฮียง (ฮุ่ง). -
คณา
แปลว่า : พวก หมู่ เหล่า อย่างว่า ขวัญแขวนเกี้ยวพึงคณาแฮ้งถ่าว (กา). -
คดี
แปลว่า : เรื่อง ข้อความ เรื่องเกี่ยวกับโลกเรียก คดีโลก เรื่องเกี่ยวกับธรรมเรียก คดีธรรม เรื่องเกี่ยวกับโบราณเรียก คดีโบราณ หรือ โบราณคดี อย่างว่า เฮาสั่งถ้อยแถมแจ้งจื่อคดี แด่เนอ (กา). -
คทา
แปลว่า : ไม้ค้อน ตะบอง ไม้ค้อนเรียก คะทา อย่างว่า ยอคะทาไกวแกว่งยายผันเปื้องฮมฮมพร้อมชาวเมืองเมิลผ่อ เลยถืกเบื้องสายเส้นเชือกไหม (ฮุ่ง). -
คน
แปลว่า : กวนให้เข้ากัน การกวนให้เข้ากันเรียก คน ระคน ปน ก็ว่า เช่นทำขนมหรือข้าวต้ม เครื่องปรุงมีน้ำอ้อย น้ำตาลและกะทิ คนเครื่องปรุงให้เข้ากัน. -
ค้น
แปลว่า : ปลุก การปลุกคนนอนหลับให้ตื่นเรียก ค้น อย่างว่า อย่าค้นผีลุก อย่าปลุกผีตื่น (ภาษิต).