ภาษาอีสานหมวด "ค" 451 - 460 จาก 975

  • คีค้อยคีค้อย
    แปลว่า : บ่อยๆ แล้วๆ เล่าๆ การจูบชมดมขม่อมไม่ขาด เรียก คีค้อยคีค้อย อย่างว่า สวนดังราชมะที ชมสองศรีอยู่คีค้อยคีค้อย (เวส).
  • คีคื่น
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงฝนตกฟ้าร้องดังไม่ขาดสาย เรียก คีคื่น อย่างว่า เทโวฟ้าฝนลงคีคื่น (กา).
  • คีเค็งคีคื่น
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงฟ้าผ่าในเวลาฝนตกประกอบกับเสียงฟ้าร้องระงม อย่างว่า คือดั่งแสงฟ้าผ่าลงมาคีเค็งคีคื่น (เวส).
  • คีง
    แปลว่า : ร่างกาย ตัว ตน ร่างกายหมดทั้งร่างเรียก คีง เลาคีง ก็ว่า อย่างว่า คีงกลมกลิ้งนำแปวน้ำทั่ง ภูวนาถกลั้นใจน้อยมอดมัว (สังข์).
  • คีต
    แปลว่า : เพลงขับ การขับร้อง การร้องรำทำเพลง เรียก คีต คีตะ ก็ว่า.
  • คีบ
    แปลว่า : การใช้คีมจับตะปู เรียก คีบตะปู.
  • คีไฟ
    แปลว่า : ที่สำหรับตั้งเตาหุงต้ม มีก้อนเส้าสามก้อน เรียก คีไฟ คีงไฟ ก็ว่า.
  • คีม
    แปลว่า : ชื่อเครื่องมือชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้หรือเหล็ก มีขาสองขาคล้ายกรรไกร ใช้คีบของแทนมือ เรียก คีม.
  • คีมหะ
    แปลว่า : ฤดูร้อนเรียก คีมหะ คีมหัน ก็ว่า อย่างว่า เถิงระดูเดือนห้าคีมหะฮ้อนแฮ่ง บ่มีหนาวมีแต่ฮ้อนไฟไหม้ลวกลน (กลอน).
  • คีรี
    แปลว่า : ภูเขา ภูเขาเรียก คีรี อย่างว่า หกกษัตริย์เข้าคีรีแถวเถื่อน แยงช่องชั้นเหวห้วยห่อมผา (สังข์).