ภาษาอีสานหมวด "ค" 431 - 440 จาก 975

  • ค่ำ
    แปลว่า : การนับวันทางจันทรคติ คือมองดูเดือนว่าข้างขึ้นหรือข้างแรม ถ้าขึ้นขึ้นกี่ค่ำ แรมแรมกี่ค่ำ.
  • ค้ำ
    แปลว่า : ว่านพลับพลึง ชื่อว่านชนิดหนึ่งเรียก ว่านค้ำ ว่านชน ก็ว่า.
  • ค้ำ
    แปลว่า : สิ่งที่เป็นมงคล นำความสุขความเจริญมาให้ เรียก ของค้ำของคูณ เช่น แข้ว เขา นอ งา คุด แข้วหมูตัน งาช้างน้ำ สิ่งเหล่านี้คนโบราณถือว่าเป็นเครื่องค้ำของคูณ ใครมีไว้ในบ้านเรือนจะสมบูรณ์พูลสุขด้วยลาภยศ สรรเสริญ สุขตลอดกาล.
  • ค้ำ
    แปลว่า : เลี้ยง บำรุง รักษา พระสงฆ์ที่บวชในพระพุทธศาสนา อาศัยญาติโยมอุปถัมภ์ บำรุงด้วยปัจจัยสี่ ผู้ใดให้ปัจจัยเป็นประจำ พระสงฆ์จะเรียกคนนั้นถ้าเป็นผู้ชายเรียก พ่อออกค้ำ ผู้หญิงเรียก แม่ออกค้ำ.
  • ค้ำ
    แปลว่า : ไม้ค้ำ ธรรมเนียมมีอยู่ว่า เมื่อคนแก่คนเถ้าเจ็บป่วย รักษาด้วยหยูกยาไม่หาย ก็ทำพิธีรักษาทางด้านจิตวิทยาคือ หาไม้มาค้ำโพธิ์ค้ำไฮ แล้วทำการสะเดาะเคราะห์ให้ เรียก ค้ำดพธิ์ค้ำไฮ.
  • ค้ำ
    แปลว่า : สิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล โบราณถือว่า เป็นสิ่งค้ำชูชีวิตคนให้เจริญรุ่งเรือง การทำบุญกุศลจะเป็นการให้ทานรักษาศีล และเจริญเมตตาภาวนา สิ่งเหล่านี้นอกจากจะค้ำชูคนผู้ทำให้มีความสุขความเจริญในภพนี้ เมื่อตายไปเกิดในภพหน้าก็ขะติดสอยห้อยตามไปค้ำชูในภพหน้าอีก.
  • คำเข้ม
    แปลว่า : ทองบริสุทธิ์เรียก คำเข้ม คำเข้มเป็นทองคำไม่เจือปน จะหล่อหลอมหรือยังไม่หล่อหลอม สีของทองจะผุดผ่องเรียก คำเข้ม อย่างว่า มันก็จัดเอาได้บรรณาการหลายหลาก มีทั้งเงินและแก้วคำเข้มคำแพง (สังข์)..
  • คำเค็ม
    แปลว่า : คำพูดดุเดือด คำพูดที่ไม่เพราะหู บาดเข้าในขั้วหัวใจ เรียก คำเค็ม อย่างว่า เมื่อนั้นยักษ์เกี่ยวใกล้กลอยกล่าวคำเค็ม มึงนี้ชายแนวใดดุ่งเดียวทางนี้ มาผิดแท้ชีวังมึงมามอบ กูรือ เมื่อนั้นภูวนาถน้าวคำกล้ากล่าวขืน (สังข์).
  • คำงาม
    แปลว่า : คำพูดไพเราะ เสนาะโสตเรียก คำงาม อย่างว่า เมื่อนั้นเวสสุวัณท้าวพระยาใหญ่เมืองผี พระก็ปุนคำงามต่อกุมภัณฑ์เถ้า (สังข์).
  • คำซาว
    แปลว่า : ทองเก้า ทองคำแท้ ขุดมาจากบ่อยังมิได้หล่อหลอม มีสีเหลืองบริสุทธิ์ผุดผ่อง เรียก คำซาว อย่างว่า อ่อยห่อยเนื้อคือหน่อคำซาว มเหสีสองเกิ่งกันจริงแท้ ราชาเจ้าพระยาหลวงชัยราช ก็จิ่งหาชื่อน้อยนางแก้วลูกตน ชื่อว่าสุระสาสร้อยกุมารีนางนาฏ งามยิ่งย้อยเสมอเพี้ยงแท่งทอง