ภาษาอีสานหมวด "ค" 421 - 430 จาก 975

  • ค่าว
    แปลว่า : เชือกขนาดใหญ่ใช้ผุกโยงระหว่างแอกใหญ่และแอกเล็ก เรียก ค่าว ใช้ผูกควายเรียก ค่าวควาย หรือเชือกขนาดใหญ่ใช้ล่ามวัวหรือควายตวที่ดุเรียก ค่าวล่ามงัวหรือควาย.
  • ค้าว
    แปลว่า : ไม้เครื่องเรือนข้างบน เรียก ไม้ค้าว อย่างว่า หลิงเห็นมุณเทียรท้าวถือเมืองมนุษย์โลก ยอดพุ่งพ้นเพียงค้าวขื่อโพยม (สังข์).
  • ค้าว
    แปลว่า : ปลาค้าว ชื่อปลาชนิดหนึ่ง เป็นปลาเนื้ออ่อนขนาดใหญ่เรียก ปลาค้าว เหงื่อกาฬคือเหงื่อที่ไหลออกมากเรียก ไคลค้าว ปลิงชนิดหนึ่งตัวขนาดใหญ่เรียก ปลิงค้าว อย่างว่า มีทังปลาบึกค้าวคะแยงโคเป้าป่าน (เวส-กลอน).
  • ค่าวค่าว
    แปลว่า : ชื่นบาน หน้าที่ชื่นบานเรียก ค่าวค่าว อย่างว่า ค่าวค่าวหน้าขึ้นใหญ่พอซาว (ฮุ่ง).
  • ค้าวน้าว
    แปลว่า : ลักษณะของสิ่งของที่ใหญ่และยาวยืดหดเข้าได้ เรียก ค้าวน้าว ถ้าเล็กเรียก แค้วแน้ว.
  • คาวี
    แปลว่า : วัวตัวเมีย เรียก คาวี อย่างว่า สัพพะสิ่งพร้อมนับคู่คาวี (สังข์).
  • คาฮม
    แปลว่า : ถ้อยคำที่คมคาย ฝีปาก เรียก คาฮม คารม ก็ว่า.
  • คำ
    แปลว่า : ทองคำเรียก คำ ทองคำขาวเรียก คำด้วง ทองด้วง ก็ว่า ทองคำเปลวเรียก คำปลิว ทองคำที่ถลุงแล้วเรียก คำผาย แร่ทองคำที่ยังไม่ได้ถลุงเรียก คำผุย คำผง ก็ว่า ทองดอกบวบเรียก คำดอกบวบ อย่างว่า มณีโชติแก้วมหานิลดวงประเสริฐ บ่มีคำห่อหุ้มมณีแก้วก็เล่าจาง (กลอน).
  • คำ
    แปลว่า : ใช้นำหน้าชื่อบุคคล สัตว์และสิ่งของซึ่งเป็นที่รักและหวงแหน ถ้าเป็นคนว่า คำกอง คำแดง คำแพง คำแก้ว ถ้าเป็นสัตว์ว่า ช้างคำ ม้าคำ แมวคำ หมาคำ งัวคำ ควายคำ ถ้าเป็นสิ่งของว่า เฮือนคำ เฮือคำ เสื้อคำ ผ้าคำ แพรคำ ซิ่นคำ เป็นต้น.
  • ค่ำ
    แปลว่า : เวลาค่ำ เวลาที่พระอาทิตย์จวนจะตกเรียก เวลาค่ำ ถ้าพระอาทิตย์ตกแล้วพระจันทร์ส่องแสงขึ้นเรียก เวลากลางคืน เวลากลางคืนถ้าเป้นข้างแรมจะไม่มีแสงสว่าง เวลาจะไปมาต้องอาศัยแสงไฟ โบราณจึงว่า ค่ำมืดปืดตา คนไปกลางคืนต้องอาสัยแสงไฟมาช่วย จึงจะเห็นหนทาง.